Page 184 - kpiebook62008
P. 184

๑๕๓

               หนังสือข้อหารือยังมิได้ผูกพันหน่วยงานที่มีอำนาจจัดเก็บ ทั้งยังไม่มีการกำหนดเวลาการตอบข้อหารือ ปัญหา

               ดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความไม่แน่นอนชัดเจนและความไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีโดยตรงเนื่องจากแม้จะปฏิบัติตาม

               ข้อหารือแล้ว ผู้เสียภาษีอาจถูกประเมินภาษีที่แตกต่างออกไปได้ หรือแม้ผู้เสียภาษีจะทำหนังสือข้อหารือแล้วแต่ก็

               อาจมิได้รับคำตอบภายในเวลาอันสมควรก็ได้




               ๓๒๑.  วิธีการถามข้อหารือไปยังกรมสรรพากร ในปัจจุบัน กรมสรรพากรได้เปิดช่องทางการทำความเข้าใจแนว

               ทางการเสียภาษีโดยใช้การตอบข้อหารือไว้ ผู้เสียภาษีอาจโทรศัพท์เข้าไปถึงหรือเดินทางไปยังกองกฎหมาย

               กรมสรรพากรเพื่อสอบถามปัญหากฎหมายภาษีอากรหรืออาจส่งหนังสือหารือเข้ามา ณ กรมสรรพากรเป็นลาย

               ลักษณ์อักษรก็ได้ ทั้งนี้ แนวทางในการตอบข้อหารือปัญหากฎหมายภาษีอากรนั้น กรมสรรพากรได้ออกเป็น
               แนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรที่ กม. ๑/๒๕๕๐ เรื่อง การตอบข้อหารือปัญหากฎหมายภาษีอากร ลงวันที่ ๗

               มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจในส่วนของการตอบข้อหารือให้เป็นไปใน

               แนวทางเดียวกันทั้งองค์กร ตั้งแต่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพากรภาค มาจนถึงกองกฎหมาย

               กรมสรรพากร




               ๓๒๒.  สถานะและผลผูกพันของการตอบหนังสือข้อหารือ ตามแนวทางปฏิบัติกรมสรรพากรที่ กม. ๑/๒๕๕๐ฯ

               ลงวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ การตอบหนังสือหารือปัญหากฎหมายภาษีอากรตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเป็น

               เพียงการให้ความเห็นทางกฎหมายเพื่อให้ผู้หารือใช้ประกอบในการพิจารณาเกี่ยวกับการเสียภาษีอากร ซึ่งผู้หารือ
               ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำการตรวจสอบ

               และประเมินเรียกเก็บภาษีอากร นอกจากนี้ การตอบข้อหารือยังมิได้มีการกำหนดระยะเวลาการตอบข้อหารือไว้

               ดังนั้นการตอบหนังสือข้อหารือดังกล่าวจึงยังไม่มีสภาพบังคับ ไม่มีผลผูกพันกรมสรรพากร และไม่อาจระบุเวลาแน่

               ชัดได้ว่าจะได้รับคำตอบเมื่อใด




               ๓๒๓.  ผลกระทบของความไม่มีผลผูกพันของการตอบหนังสือข้อหารือ หลักความแน่นอนและหลักความเป็น
               ธรรมเป็นหลักการสำคัญในการบริหารภาษีที่ดีซึ่งสามารถใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               การที่กรมสรรพากรเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีมีสิทธิในการสอบถามปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เสียภาษีรับรู้ถึงข้อมูลต่าง ๆ

               ที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีนับเป็นการคุ้มครองสิทธิที่ดีประการหนึ่ง แต่การตอบหนังสือข้อหารือดังกล่าวกลับไม่มี

               ผลผูกพันกรมสรรพากรจึงส่งผลเป็นการบั่นทอนการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีลงเนื่องจากแม้ผู้เสียภาษีมี
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189