Page 187 - kpiebook62008
P. 187
๑๕๖
๕.๓.๒.๑ ปัญหาความซับซ้อนและความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี
ในกระบวนการจัดเก็บภาษี ประมวลรัษฎากรได้กำหนดบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีไว้อยู่กับ
บทบัญญัติอื่น และในบางกรณีประมวลรัษฎากรก็มิได้กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้จนทำให้ต้องบัญญัติ
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับ ประเด็นดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไม่
ซับซ้อนและความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษี ทั้งนี้ บทบัญญัติในเรื่องดังกล่าวปรากฏทั้งใน
กระบวนการประเมินภาษี (๑) และกระบวนการโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษี (๒)
(๑) บทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในระหว่างประเมินภาษี
๓๒๘. ความซับซ้อนและความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในระหว่างประเมินภาษี
แม้ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่งในการจัดเก็บภาษี แต่ประมวลรัษฎากรมิได้มีการบัญญัติเรื่องสิทธิของ
ผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะในหลายประเด็น จึงจำเป็นต้องอาศัยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับ อาทิ การประกันความไม่มีส่วนได้เสียของเจ้าพนักงานประเมินต้องอาศัยมาตรา ๑๓ และ
๑๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การแสดงเหตุผลในคำสั่งประเมินภาษีต้อง
อาศัยมาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ นอกจากนี้ บทบัญญัติใน
ประมวลรัษฏากรให้ความสำคัญกับอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินมากกว่าสิทธิของผู้เสียภาษี จนทำให้เกิดความ
ไม่ชัดเจนของสิทธิของผู้เสียภาษีในกรณีดังกล่าวดังตัวอย่างเช่น มาตรา ๑๙ แห่งประมวลรัษฎากร “กรณีที่เจ้า
พนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ให้เจ้า
พนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวน และออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่น
รายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แต่ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อย
กว่าเจ็ดวันนับแต่วันส่งหมาย...” บทบัญญัติข้างต้นพึงให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษีในการแสดงพยานหลักฐานต่อเจ้า
พนักงานประเมิน แต่บทบัญญัติกลับใช้คำว่า “สั่งให้” อันแสดงให้เห็นถึงอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่อยู่เหนือ
สิทธิของผู้เสียภาษี
๓๒๙. มาตรฐานทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นเพียง
มาตรฐานขั้นต่ำซึ่งใช้บังคับกับกรณีที่มิได้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะเท่านั้น หากกฎหมายใดกำหนดวิธี
ปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการ