Page 190 - kpiebook62008
P. 190
๑๕๙
ในขณะที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติ
๒๓๓
๒๓๒
ภาษีการรับมรดก พ.ศ.๒๕๕๘ ได้กำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ไว้ที่ ๑๘๐ วัน และขยายได้อีก ๙๐ วัน
ส่วนพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.๒๕๖๒ ได้กำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ไว้ที่ ๖๐ วันและ
๒๓๔
ขยายได้อีก ๓๐ วัน เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่ากฎหมายภาษีฉบับอื่นต่างกำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์
ไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีไว้ทั้งสิ้น จึงเป็นประเด็นปัญหาที่พึงกลับมาทบทวนว่าประมวลรัษฎากรพึง
กำหนดระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์หรือไม่ อย่างไร นอกจากประเด็นการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์
ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ยังพบว่ากฎหมายภาษีอากรฉบับอื่นกำหนดให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิ
ฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องรอการพิจารณาอุทธรณ์ดังปรากฏตามมาตรา ๔๒ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร
พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๙๙ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ วรรคสามแห่ง
พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.๒๕๕๘ และมาตรา ๘๑ วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูก
สร้าง พ.ศ.๒๕๖๒ การกำหนดสิทธิในการฟ้องศาลโดยไม่ต้องรอการพิจารณาอุทธรณ์นี้นับว่าเป็นการเพิ่มเติมสิทธิ
ให้แก่ผู้เสียภาษีอันสำคัญยิ่ง จึงยิ่งการตอกย้ำถึงความไม่เหมาะสมของการกำหนดวิธีการโต้แย้งคัดค้านการประเมิน
ภาษีในประมวลรัษฎากร
๓๓๔. ผลกระทบต่อผู้เสียภาษี ในกระบวนการจัดเก็บภาษี นอกจากจำเป็นต้องให้สิทธิในการโต้แย้งคัดค้านแก่ผู้
เสียภาษี การพิจารณาข้อโต้แย้งคัดค้านนั้นจำเป็นต้องกระทำโดยรวดเร็วด้วยจึงจะสามารถก่อให้เกิดความเป็น
ธรรมแก่ผู้เสียภาษีได้อย่างแท้จริง การที่ประมวลรัษฎากรมิได้มีการกำหนดระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ย่อม
ส่งผลให้ผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากรไม่อาจทราบได้ว่าตนจะสามารถใช้สิทธิโต้แย้งต่อไปยังชั้นศาลได้เมื่อไร อีก
ทั้งประมวลรัษฎากรยังมิได้กำหนดสิทธิการฟ้องโดยไม่จำต้องรอผลการพิจารณาอุทธรณ์ยิ่งเป็นการลิดรอนสิทธิของ
ผู้เสียภาษีตามประมวลรัษฎากรลงอีก
๒๓๒ มาตรา ๔๑ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๙๙ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต
พ.ศ.๒๕๖๐ และมาตรา ๒๖ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.๒๕๕๘
๒๓๓ มาตรา ๔๑ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.๒๕๖๐ มาตรา ๙๙ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.
๒๕๖๐ และมาตรา ๒๖ วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.๒๕๕๘
๒๓๔ มาตรา ๘๑ วรรคสองและสามแห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.๒๕๖๒