Page 192 - kpiebook62008
P. 192
๑๖๑
๓๓๖. แนวทางการกำหนดบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ การจัดเก็บภาษีเป็นเรื่องที่
มีสำคัญยิ่งต่อกระบวนการงบประมาณของประเทศ และกระทบต่อสิทธิของผู้เสียภาษีเป็นวงกว้าง การจัดเก็บภาษี
จึงควรคำนึงถึงหลักการบริหารภาษีอากรที่ดีโดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวกับหลักความแน่นอน กฎหมายภาษีจึงต้อง
กำหนดสิทธิต่าง ๆ ของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดความแน่นอนและไม่พึงต้องบังคับใช้พระราชบัญญัติ
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงสิทธิขั้นพื้นฐานของ
ประชาชน แต่ผู้เสียภาษีพึงมีสิทธิที่มากกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานที่ปรากฏในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเห็น
ควรให้นำการกำหนดสิทธิของสหรัฐอเมริกามาใช้บังคับโดยเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยสิทธิของผู้เสียภาษีลงไปใน
กฎหมายภาษีแต่ละฉบับเนื่องจากกฎหมายภาษีแต่ละฉบับมีรายละเอียดการบังคับใช้ที่แตกต่างกัน สิทธิต่าง ๆ ของ
ผู้เสียภาษีจึงอาจมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ การบัญญัติกฎหมายอาจกำหนดสิทธิอื่นเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรใน
แต่ละประเภทของภาษี การกำหนดหมวดเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษีเพิ่มเติมขึ้นย่อมส่งผลดีต่อทั้งผู้เสียภาษีและ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในมุมของผู้เสียภาษี การแยกการรับรองสิทธิเป็นหมวดเฉพาะย่อมทำให้ผู้เสียภาษีสามารถทราบ
ถึงสิทธิของตนเองได้แน่นอนและสามารถบังคับใช้สิทธิดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ ส่วนในแง่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่
เกี่ยวข้องย่อมตระหนักถึงสิทธิของผู้เสียภาษีมากยิ่งในระหว่างปฏิบัติหน้าที่
๕.๓.๓ การกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
๓๓๗. กระบวนการโต้แย้งคัดค้านการประเมินเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้เสียภาษีในการให้มีการพิจารณาประเมิน
ภาระภาษีที่เกิดขึ้นใหม่ ในกระบวนการดังกล่าวจึงควรเป็นไปด้วยความรวดเร็วและและมีหน่วยงานที่พิจารณาการ
โต้แย้งคัดค้านดังกล่าวที่เหมาะสม กระบวนการโต้แย้งคัดค้านในปัจจุบันยังมีความไม่เหมาะสม (๕.๓.๓.๑) จึง
จำเป็นต้องพิจารณากระบวนการโต้แย้งคัดค้านก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี (๕.๓.๓.๒)
๕.๓.๓.๑ ปัญหาความไม่เหมาะสมขององค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
๓๓๘. ความเชื่อมโยงระหว่างการประเมินภาษีกับการโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษี ประมวลรัษฎากร
กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องประเมินตนเองและมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ โดยเจ้าพนักงานประเมินมี
อำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของจำนวนภาษี หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าไม่
ถูกต้อง ก็จะทำการประเมินเรียกเก็บภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มตามกฎหมาย แล้วส่งหนังสือแจ้งการ
ประเมินให้ผู้เสียภาษีเพื่อดำเนินการเสียภาษีให้ถูกต้อง หลังจากได้รับหนังสือแจ้งประเมินแล้ว ผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วย