Page 178 - kpiebook62008
P. 178

๑๔๗

               ของหน้าที่ของผู้เสียภาษี วิธีการตรากฎหมายภาษีจึงใช้วิธีการเช่นเดียวกับการตรากฎหมายที่จำกัดสิทธิในทรัพย์สิน

               ของประชาชนเนื่องจากการจัดเก็บภาษีเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินประเภทหนึ่ง จึงเกิดปัญหาว่าฝ่ายบริหารอาจ

               กำหนดเนื้อหาหลักของกฎหมายภาษีซึ่งทำให้สิทธิของผู้เสียภาษีมิได้รับการคุ้มครองและมิได้เป็นไปตามหลัก

               ความชอบด้วยกฎหมายภาษีอย่างแท้จริง (๕.๒.๑) จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

               (๕.๒.๒)




                       ๕.๒.๑ สภาพปัญหาเกี่ยวกับการตรากฎหมายภาษีเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี


               ๓๐๗.  การให้ความสำคัญกับหน้าที่ของผู้เสียภาษี การพิจารณาการเสียภาษีอาจพิจารณาได้เป็นสองแง่มุมอัน

               ได้แก่ การเสียภาษีในฐานะที่เป็นหน้าที่ของผู้เสียภาษี และการเสียภาษีในฐานะที่เป็นการจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี

               ในแง่ฐานะหน้าที่ของปวงชนชาวไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีการกำหนดให้เป็นหน้าที่หนึ่งของปวง
               ชนชาวไทยเพื่อนำเงินภาษีเหล่านั้นมาบริหารราชการแผ่นดิน ในการกำหนดหน้าที่ดังกล่าวมิได้มีสภาพบังคับ

               บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ประสงค์ให้ปวงชนชาวไทยเห็นความสำคัญของการเสียภาษี อย่างไรก็ตาม สภาพ

               บังคับเมื่อมีการฝ่าฝืนหน้าที่ดังกล่าวจะปรากฏในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ อาทิ ประมวลรัษฎากร

               พระราชบัญญัติภาษีอื่น การกำหนดให้การเสียภาษีเป็นหน้าที่หนึ่งของปวงชนชาวไทยในลักษณะดังกล่าวปรากฏให้

               เห็นตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ตราบจนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

               พุทธศักราช ๒๕๖๐ ด้วยเหตุดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญให้ความสำคัญกับการเสียภาษีในฐานะที่เป็นหน้าที่

               เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเสียภาษี




               ๓๐๘.  การให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้เสียภาษี เมื่อพิจารณาการเสียภาษีในฐานะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้เสีย

               ภาษี จะพบว่าตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ จบจนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

               ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ไม่ปรากฏบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะดังเช่นปรากฏในฐานะ

               เป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย แต่เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้วจะ
               พบว่าแม้มิได้มีการบัญญัติสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ แต่การจัดเก็บภาษีเป็นการใช้อำนาจรัฐโดยการ

               จำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนประการหนึ่งเนื่องจากเงินภาษีเป็นทรัพย์สินประการหนึ่ง การจัดเก็บภาษีจึง

               ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนซึ่งนับเป็นการรับรองหลัก

               ความชอบด้วยกฎหมายภาษีที่กำหนดให้การตรากฎหมายภาษีจำต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายนิติบัญญัติ
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183