Page 208 - kpiebook62008
P. 208

๑๗๗

               ๓๖๒.  เมื่อพิจารณาหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีในประเทศไทยแล้วจะพบว่าแม้ว่าประเทศไทยจะมีการสร้าง

               ความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีอยู่พอสมควร แต่กระบวนการดังกล่าวยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับ การ

               จัดทำนโยบายภาษียังขาดความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่อง การประกันสิทธิของผู้เสียภาษีในการตรากฎหมาย

               ภาษี หน่วยงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษียังมีกระบวนการทำความเข้าใจกับผู้เสียภาษีที่ไม่แน่นอนเพียงพอ ในขณะที่

               กระบวนการประเมินภาษีและการโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษียังขาดหลักกฎหมายที่มีความแน่นอนและเป็น

               ธรรมต่อผู้เสียภาษี และระบบงบประมาณยังขาดความสมดุลผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

                       ๑. ในประเด็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ผู้วิจัยเห็นว่ายุทธศาสตร์ชาติและ

               แผนการปฏิรูปประเทศมีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี แต่

               ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศอาจมีความไม่เหมาะสมเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการ

               ยุทธศาสตร์ชาติจึงควรเฝ้าระวังยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวกับภาษี และควรทบทวนความเหมาะสมของยุทธศาสตร์ชาติ

               ที่เกี่ยวกับภาษีเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมอย่างทันถ่วงทีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการ

               จัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐


                       ๒. ในประเด็นเกี่ยวกับองค์กรที่กำหนดนโยบายและมาตรการทางภาษี ในปัจจุบัน หน่วยงานผู้ริเริ่ม

               นโยบายภาษีค่อนข้างมีความหลากหลาย นโยบายภาษีจึงขาดความเป็นเอกภาพและขาดหลักประกันการคุ้มครอง

               สิทธิของผู้เสียภาษี ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการที่ปรึกษานโยบายภาษีแห่งชาติ” ซึ่งประกอบไป

               ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากรและทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษารัฐบาลในการจัดทำนโยบายและมาตรการทางภาษี


                       ๓. ในประเด็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตรากฎหมายภาษีในรัฐธรรมนูญ ในปัจจุบัน การตรากฎหมายเพื่อ

               จำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน จึงก่อให้เกิดการมอบอำนาจให้

               ฝ่ายบริหารในการตรากฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดโครงสร้างภาษีที่สำคัญ ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการบัญญัติ

               หลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีขึ้นเป็นการเฉพาะไว้ในรัฐธรรมนูญพร้อมทั้งกำหนดกรอบ


               การมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการตรากฎหมายลำดับรอง

                       ๔. ในประเด็นเกี่ยวกับการใช้ระบบการตอบหนังสือข้อหารือ การตอบหนังสือข้อหารือในปัจจุบันยังไม่มี

               กฎหมายให้ใช้บังคับอย่างเป็นรูปธรรม จึงไม่มีผลผูกพันกับกรมสรรพากรและยังมิได้มีการกำหนดระยะเวลาการ

               ตอบหนังสือข้อหารือ การทำความเข้าใจกับผู้เสียภาษีจึงยังขาดความแน่นอนและยังก่อความไม่เป็นธรรมแก่ผู้เสีย

               ภาษี ผู้วิจัยจึงเห็นให้เพิ่มเติมหมวดว่าด้วยการตอบหนังสือข้อหารือในประมวลรัษฎากรโดยกำหนดให้การตอบ
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213