Page 209 - kpiebook62008
P. 209
๑๗๘
หนังสือข้อหารือมีผลผูกพันกรมสรรพากรและมีการกำหนดระยะเวลาการตอบหนังสือข้อหารือ ส่วนรายละเอียด
ของขั้นตอนกระบวนการตอบหนังสือข้อหารืออาจกำหนดในรูปของกฎหมายลำดับรอง
๕. ในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ บทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครอง
สิทธิในระหว่างการจัดเก็บภาษียังมิได้กำหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของผู้เสียภาษีและยังจำต้องอาศัยกฎหมายอื่น
มาใช้บังคับซึ่งทำให้การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีระหว่างการจัดเก็บภาษีขาดความแน่นอน ผู้วิจัยเห็นควรให้มี
การกำหนดหมวดเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษีให้แยกออกมาอย่างชัดเจนและมีการกำหนดกระบวนการเป็นการ
เฉพาะเพื่อสร้างความโปร่งใส
๖. ในประเด็นเกี่ยวกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้วิจัยเห็นควรปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์ให้เพิ่มเติมผู้เชี่ยวชาญทางภาษีเข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อให้การวินิจฉัยของคณะกรรมการ
พิจารณาอุทธรณ์มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
๗. ในประเด็นเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบโดยระบบงบประมาณ ในปัจจุบัน ระบบงบประมาณของ
ประเทศไทยยังเป็นระบบขาเดียว จึงทำให้ระบบงบประมาณขาดความสมดุลระหว่างรายรับและรายได้ ในการ
แก้ไขระยะยาว ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณของประเทศไทยจากระบบขาเดียวมาเป็น
ระบบสองขาโดยมีการพิจารณางบประมาณรายรับไปพร้อมกับงบประมาณรายจ่าย อย่างไรก็ตามการนำระบบ
งบประมาณสองขามีข้อจำกัดหลายประการ จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ทันที การเปลี่ยนแปลงเป็นระบบงบประมาณ
สองขาควรมีการวางแผนโดยการบรรจุอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่วน
การแก้ไขระยะสั้น ผู้วิจัยเห็นควรให้มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของนโยบายหรือมาตรการภาษี และกำหนดให้มี
การรายงานการลดหรือการยกเว้นภาษีต่อรัฐสภา
๘. ในประเด็นเกี่ยวกับการเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการจัดเก็บและใช้เงินภาษี แม้
จะมีการเปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้เงินภาษีของรัฐ แต่กระบวนการตรวจสอบ
ดังกล่าวพึงมีมาตรการคุ้มครองประชาชนผู้เข้ามามีส่วนร่วมและมีมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม