Page 80 - kpiebook62002
P. 80
Mekong Ministerial Initiative against Trafficking: COMMIT) และกระบวนการบาหลี (Bali Process)
หรือชื่อเต็ม คือ กระบวนการบาหลีว่าด้วยการลักลอบขนย้ายคน การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่
เกี่ยวข้อง (Bali Process on People Smuggling, Trafficking in Persons and Related Transnational
Crime)
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ าโขงเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์
(Coordinated Mekong Ministerial Initiative against Trafficking: COMMIT) ตั้งขึ้นในปี 2004 ถือ
เป็น “กระบวนการ” (process) ที่น าโดยรัฐโดยเป็นเวทีการหารือเชิงนโยบายระดับสูงในกลุ่มกรอบความ
ร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ประกอบด้วยสมาชิก 6 รัฐ ได้แก่ กัมพูชา
จีน ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม โดยมีปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งสหประชาชาติ
(United Nations Action for Cooperation against Trafficking in Persons: UN-ACT) ซึ่งเป็นโครงการ
ระดับภูมิภาคจัดการโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme:
UNDP) ท าหน้าที่ส านักงานเลขาธิการ ซึ่งเดิมโครงการระหว่างหน่วยงานเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ของ
สหประชาชาติ (United Nations Inter-Agency Project on Human Trafficking: UNIAP) ด าเนินการ โดย
มุ่งความพยายามร่วมกันในการป้องกันการค้ามนุษย์ การคุ้มครองเหยื่อ การส่งคืนถิ่น และบูรณาการกลับสู่
สังคม ตลอดจนการด าเนินคดีกับอาชญากรที่มีส่วนรับผิดชอบ (IOM, 2019)
COMMIT มีการประชุมทั้งในระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส กล่าวคือ (IOM, 2019)
(1) การประชุมระดับรัฐมนตรี (COMMIT Inter-Ministerial Meetings: IMM) จัดขึ้นทุก 3 ปี
โดยรัฐมนตรีที่รับผิดชอบจากแต่ละประเทศประชุมกันเพื่อให้แนวทาง ยืนยันถึงพันธกรณีต่อเป้าหมายตามที่
ปรากฏในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขง
(Memorandum of Understanding on Cooperation Against Trafficking in Persons in the Greater
Mekong Region: COMMIT MOU) เดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 และรับรองแผนปฏิบัติการอนุภูมิภาค (Sub-
Regional Plan of Action: SPA) ของ COMMIT ซึ่งมีมาแล้วทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่ SPA I ค.ศ. 2005–2007
9
SPA II ค.ศ. 2008–2010 SPA III ค.ศ. 2011–2013 และ SPA IV ค.ศ. 2015–2018 การประชุมเชิงปฏิบัติการ
และฝึกอบรมจัดขึ้นตอบกรอบของแผนเหล่านี้
(2) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (COMMIT Senior Officials Meetings: COMMIT SOM)
จัดขึ้นถี่กว่าเป็นประจ าทุกปีเพื่อเป็นเวทีการทบทวนระดับเดียวกัน (peer review) ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลสมาชิก
GMS รายงานซึ่งกันและกันเกี่ยวกับการด าเนินการความพยายามที่ท าตามกระบวนการ COMMIT ในปีที่ผ่าน
มาและตั้งเป้าหมายส าหรับอนาคต
(3) คณะท างานเฉพาะกิจระดับชาติ (National COMMIT Task Forces: COMMIT TF) ซึ่งแต่
ละประเทศมีเป็นของตนเอง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รัฐบาลซึ่งผู้เป็นผู้แทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้องมากที่สุดใน
การต่อสู้กับการค้ามนุษย์โดยรวมถึงต ารวจ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงความมั่นคง
9 ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนงานเหล่านี้ได้จากเว็บไซต์ทางการของ COMMIT, http://commit.asia ตรง About แล้วเลือก History
[64]