Page 79 - kpiebook62002
P. 79

อาเซียน ในส่วนสุดท้ายเป็นการสรุปอุปสรรคและโอกาสส าคัญในการบรรลุองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอย่างมี

               ประสิทธิภาพ โดยมีตารางภาคผนวกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องหรือก็คือ “มาตรฐานเชิงคุณภาพ” (quality
               standards) (ASEAN, 2018a)

                       “แนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงานของอาเซียน” (ASEAN Practitioner Guidelines) และ “รายงาน

               ความก้าวหน้า” ข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นว่าในปัจจุบันอาเซียนมีการสั่งสมองค์ความรู้ไว้มากเพื่อด าเนินการตาม
               อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) และกรอบแนวคิด

               (conceptual framework) หรือแนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงาน (Practitioner Guidelines) ไทยก็มีหน่วยงาน

               ที่รองรับและสร้างคนมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การโยกย้ายต าแหน่งในระบบราชการก่อให้เกิดปัญหาที่
               หน่วยงานจากต่างประเทศมาฝึกให้แล้วบุคลากรเปลี่ยนอยู่ตลอด จึงไม่สามารถสร้างผู้เชี่ยวชาญในระบบได้

               (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)

                       กลไกการประชุมของอาเซียนก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาเซียนมีกลไกในการประสานงาน
               ครบถ้วนโดยเฉพาะระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส มีกฎเกณฑ์เป็นพื้นฐาน (rules-based) ในลักษณะ

               สนธิสัญญา แผนปฏิบัติและแผนการด าเนินงานที่ละเอียดและชัดเจนมาก แต่ข้อจ ากัดอยู่ตรงที่ว่าการ

               ด าเนินการก็ยังขึ้นอยู่กับสมรรถนะของแต่ละรัฐสมาชิกที่ไม่เท่ากันและกลไกภายในประเทศ และอาเซียนไม่มี
               กลไกรวมศูนย์เหมือนสหภาพยุโรป การขับเคลื่อนความร่วมมือจึงขึ้นอยู่กับรัฐสมาชิกที่ท าหน้าที่ประธาน

               อาเซียนและเลขาธิการอาเซียนซึ่งมีอ านาจเพิ่มขึ้นตามกฎบัตรอาเซียน (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22

               มีนาคม 2562)


                       2.3.2  กรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน


                            ความร่วมมือเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนมีลักษณะที่เรียกว่า  “กระบวนการ

               ปรึกษาหารือระดับภูมิภาค” (Regional Consultative Process: RCP) ซึ่งด าเนินงานควบคู่ไปกับการท างาน

               เชิงสถาบันในกรอบอาเซียน และมีลักษณะเป็นสถาบันในระดับที่น้อยกว่า เพราะมุ่งเป็นเป็นเวทีระดับรัฐบาลที่
               ส่งเสริมการเจรจาและความร่วมมือกันโดยไม่มุ่งผลผูกพันทางกฎหมายหรือตามผลสรุปการประชุม จัดประชุม

               ขึ้นซ้ าๆ ในหลายระดับทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ผู้แทนขององค์การระหว่างประเทศและองค์การ

               ภูมิภาคต่างๆ มีโครงสร้างการบริหารงานขั้นต่ าสุด แต่เน้นการสร้างเครือข่ายไม่เป็นทางการส าหรับการ
               แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างรัฐบาลที่เข้าร่วม สร้างความไว้วางใจระหว่างตัวแสดงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

               อ านวยให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในประเด็นการย้ายถิ่นซึ่งสามารถน าไปสู่นโยบายและการปฏิบัติให้ราบรื่นโดย

               มุ่งไปในทิศทางเดียวกันในท้ายที่สุด (Lavenex, Jurje, Givens, &  Buchanan, 2016; Nita, 2013)
                       กระบวนการปรึกษาหารือระดับภูมิภาค (Regional Consultative Process: RCP) ที่เกี่ยวข้องกับ

               อาเซียนในการต่อต้านการค้ามนุษย์มีความร่วมมือใน 2 กรอบซึ่งแบ่งเป็นระดับอนุภูมิภาคกับระดับภูมิภาค

               ได้แก่ การประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ าโขงเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (Coordinated




                                                           [63]
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84