Page 76 - kpiebook62002
P. 76

โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ค.ศ. 2004 ซึ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมาย การคัดแยกเหยื่อออกจากผู้กระท าผิด และ

               การก าหนดบทลงโทษที่รุนแรงแก่ผู้กระท าผิดฐานค้ามนุษย์
                       -  แผนปฏิบัติการ คือ แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและ

               เด็ก (ASEAN Plan of Action against Trafficking in Persons, Especially Women and Children: APA)

               ค.ศ. 2015 เพื่อให้อนุสัญญา ACTIP เกิดผลในทางปฏิบัติ ซึ่งไทยร่วมกับสิงคโปร์ผลักดันการจัดท าแผนปฏิบัติ
               การนี้มาตั้งแต่การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (SOMTC) ครั้งที่ 12 ในเดือน

               กันยายน 2012 ที่กรุงเทพฯ เพื่อให้สอดคล้องกับ “แผนปฏิบัติการสากลของสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้าน

               การค้ามนุษย์” (United Nations Global Plan of Action to Combat Trafficking in Persons) ค.ศ. 2010
               (กรมองค์การระหว่างประเทศ, 2558ก)

                       -  แผนการด าเนินงาน คือ แผนการด าเนินงานในเรื่องการค้ามนุษย์โบฮอล ค.ศ. 2017–2020

               (Bohol Trafficking in Persons Work Plan 2017-2020: Bohol TIP Work Plan) ซึ่งได้รับการรับรองโดยที่
               ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (SOMTC) ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2017 แผนการ

               ด าเนินงานนี้พัฒนาขึ้นโดยการน าของฟิลิปปินส์ใน SOMTC (SOMTC Philippines) ในเดือนพฤศจิกายน

               2016 โดยท างานร่วมกับองค์กรเฉพาะสาขาของอาเซียนเพื่อขับเคลื่อนการท างานในการต่อต้านการค้ามนุษย์
               ในช่วง 4 ปีระหว่าง ค.ศ. 2017–2020 ให้สอดคล้องกับก าหนดเวลาของแผนปฏิบัติการ APA

                       -  คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ASEAN Commission

               on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children: ACWC) ค.ศ. 2010
                       -  แนวปฏิบัติที่มีความละเอียดเชิงเพศภาวะส าหรับการดูแลสตรีที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

               (Gender Sensitive Guideline for Handling Women Victims of Trafficking in Persons) ค.ศ. 2016

                       -  ฉันทามติอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ (ASEAN Consensus on
               the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers) ค.ศ. 2017

                       ดังนั้นตราสารหลักที่ใช้ในการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กจึงพัฒนามาเป็นล าดับตั้งแต่

               เป็นปฏิญญา (declaration) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในเรื่องนี้ใน ค.ศ. 2004 จนกลายมาเป็นอนุสัญญา
               (convention) และแผนปฏิบัติการ (plan of action) ระดับอาเซียนในปี 2015

                       อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ค.ศ. 2015 มุ่ง

               จัดการปัญหาการค้ามนุษย์ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีความรับผิดชอบร่วมกัน และ
               เป้าหมายร่วมกันโดยนอกจากเพื่อป้องกันอาชญากรรมดังกล่าวนี้ อีกทั้งมุ่งจัดการการกระท าความผิดตาม

               กฎหมายด้วยการด าเนินคดีและลงโทษทั้งผู้กระท าและผู้ร่วมกระท าความผิดในกรณีการค้ามนุษย์ และต้องให้

               การคุ้มครองและช่วยเหลือ “เหยื่อการค้ามนุษย์” อนุสัญญานี้ถือเป็นเครื่องมือระดับภูมิภาคที่จัดการเป็นการ
               เฉพาะกับการค้ามนุษย์ด้วย “การก าหนดให้เป็นความผิดอาญา” (criminalization) ในลักษณะกรอบทาง

               กฎหมายส าหรับปฏิบัติการระดับภูมิภาค มีผลผูกพันทางกฎหมายและเป็นการช่วยรัฐสมาชิกที่เป็นประเทศต้น







                                                           [60]
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81