Page 71 - kpiebook62002
P. 71

อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานทั้งการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงาน

               บังคับ ค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน การยกเลิกแรงงานบังคับ อายุขั้นต่ าที่ให้จ้างงานได้ ไปจนถึงรูปแบบที่
               เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก (ดู ตารางที่ 2.4)

                       นอกจากนี้หน่วยงานรัฐยังเจรจาและร่วมมือกับองค์การนอกภาครัฐที่ท างานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ทาง

               เพศ แรงงานเด็ก และแรงงานรับใช้ในบ้าน อาทิ Urban Light ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศที่ให้
               ความช่วยเหลือเด็กผู้ชายที่มีความเสี่ยงต่อการถูกค้ามนุษย์ ก่อให้ความเชื่อมั่นต่อการท างานของรัฐบาลในการ

               แก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)


                       ตารางที่ 2.4 สนธิสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติหญิงที่ไทยเข้าร่วมเป็นภาคี



                                                สนธิสัญญา                             การเข้าร่วมเป็นภาคี
                 อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกใน      9 สิงหาคม 1985

                 ครอบครัว (CEDAW)

                 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)       29 ตุลาคม 1996

                 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR)    5 กันยายน 1999
                 อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุก  28 มกราคม 2003

                 รูปแบบ (ICERD)

                 อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 29 ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือแรงงานบังคับ        26 กุมภาพันธ์ 1969
                 อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 100 ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน              8 กุมภาพันธ์ 1999

                 อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 105 ว่าด้วยการยกเลิกแรงงานบังคับ                 2 กุมภาพันธ์ 1969

                 อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 138 ว่าด้วยอายุขั้นต่ าที่ให้จ้างงานได้         11 พฤษภาคม 2004

                 อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 182 ว่าอนุสัญญาว่าด้วยรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการใช้  16 กุมภาพันธ์ 2001
                 แรงงานเด็ก

               หมายเหตุ: ปรับจากตารางใน Review of Laws, Policies and Regulations Governing Labour

                    Migration in Asian and Arab States: A Gender and Rights Based Perspective (pp.
                    243–244), by UN Women, Asia-Pacific Regional Office, 2013, Bangkok: UN Women.




                     แนวคิดการจัดตั้งส านักงานต่อต้านการค้ามนุษย์ระดับชาติ

                      การรับมือกับปัญหาการค้ามนุษย์นั้นแม้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการท างานเป็นระบบที่ดีขึ้น แต่กลไก

               จ านวนมากยังอยู่ในลักษณะเฉพาะกิจ จ าเป็นจะต้องมีกลไกที่ถาวรเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืน
               สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ าของกฎหมายคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์และความรุนแรง (TVPA) ที่




                                                           [55]
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76