Page 67 - kpiebook62002
P. 67

ด้าน Prevention รัฐบาลมีนโยบายให้แรงงานต่างด้าวได้ท างานแบบถูกต้องตามกฎหมาย เป็นไปตาม

               หลักสากล โดยได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และตระหนักถึงภัยของการค้ามนุษย์ การแจ้งเบาะแส
               ของการค้ามนุษย์ และลดอุปสงค์การแสวงหาประโยชน์ทางเพศที่แฝงมากับการท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น การ

               ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบวีดิโอฉายบนเครื่องบินที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เพื่อเชิญชวนนักท่องเที่ยวไม่

               สนับสนุนให้เกิดการค้ามนุษย์ (รัฐบาลไทย, 2561ข)
                       ในส่วนถัดไปจะเป็นการน าเสนอกลไกรับมือปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่ส าคัญแบ่งออกเป็น 2

               ส่วน ได้แก่ แรงงานในภาคประมง อีกส่วนเป็นการสรุปโดยรวมในเรื่องการค้าบริการทางเพศ แรงงานเด็ก และ

               แรงงานรับใช้ในบ้าน

                     กลไกรับมือปัญหาแรงงานในภาคประมง

                       ส าหรับการด าเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานบังคับในภาคประมงของไทยในช่วง ค.ศ. 2016-2018 การ

               สรุปโดยกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ (2561) ได้ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลไทยมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาแรงงานใน
               ภาคประมงอย่างจริงจัง และออกมาตรการหลายอย่างเพื่อคุ้มครองแรงงานทั้งในด้านกฎหมาย นโยบาย และ

               การบังคับใช้ โดยท างานร่วมกับทั้งภาคเอกชน องค์การนอกภาครัฐ และประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้

               สถานการณ์แรงงานในภาคประมงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหลายด้านจากรายงาน “โซ่ที่ซ่อนไว้: การปฏิบัติ
               มิชอบด้านสิทธิและแรงงานบังคับในอุตสาหกรรมประมงไทย” ของ Human Rights Watch ซึ่งมักอ้างอิง

               ข้อมูลส่วนใหญ่จากสถานการณ์ในปี 2016 และบางส่วนย้อนหลังไปถึงปี 2012 ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

               และความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน
                       แนวคิดหลักที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การจดทะเบียน การสร้างแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี การ

               เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจแรงงานประมง ส าหรับการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวด าเนินการปีละ 2 เดือน

               เพื่อให้ผู้หลบหนีเข้าเมืองซึ่งลักลอบท างานบนเรือเข้าสู่ระบบ ส่วนการประกาศใช้แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี
               ส าหรับสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ าเบื้องต้นในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งและอาหารทะเลในประเทศไทย ซึ่ง

               เน้นการขจัดการใช้แรงงานบังคับ การใช้แรงงานเด็ก เสรีภาพในการสมาคม การเจรจาต่อรองร่วม และความ

               ร่วมมือในสถานประกอบกิจการ การไม่เลือกปฏิบัติ ค่าจ้าง ชั่วโมงการท างาน ค่าชดเชย ความปลอดภัย อาชี
               วอนามัยและสภาพแวดล้อมในการท างานและสวัสดิการ (กรมองค์การระหว่างประเทศ, 2558)

                       ส่วนการตรวจแรงงาน ด าเนินการอย่างครอบคลุมทั้งที่ท่าเรือ บนเรือ และโรงงานแปรรูปสัตว์น้ า

               วิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อให้หาเป้าหมายได้ตรงจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก
               (Port In - Port Out: PIPO Control Center) ที่จะแจ้งว่าเรือมีคนอยู่กี่คน ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบว่าใช้

               แรงงานผิดกฎหมายอย่างการสแกนม่านตาและใบหน้าเพิ่มขึ้นจากการสแกนลายนิ้วมือลูกเรือประมงเพื่อให้การ
               ตรวจแรงงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มจ านวนผู้ตรวจและล่าม การตรวจแรงงานยังปรับเปลี่ยน

               แนวปฏิบัติเมื่อพบกรณีการละเมิดสิทธิของแรงงานจากเดิมที่ให้โอกาสนายจ้างได้ท าให้ถูกกฎหมายก่อน มาเป็น

               การด าเนินคดีด าเนินคดีอาญาทันทีโดยไม่ต้องรอออกค าสั่งให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง (กระทรวงการ
               ต่างประเทศ, กรมยุโรป, 2561)



                                                           [51]
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72