Page 63 - kpiebook62002
P. 63

สหรัฐอเมริกา การท างานร่วมกับสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศเพื่อให้มีความเข้าใจและแลกเปลี่ยนข้อมูล

               ข่าวสารระหว่างกัน (กระทรวงการต่างประเทศ, 2560)


                       2.2.3  กฎหมาย


                            ไทยได้พัฒนามาตรการตามกฎหมายมาเป็นล าดับตั้งแต่พระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกัน

               และปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ปรับปรุงจาก พระราชบัญญัติว่าด้วยการค้าหญิง

               และเด็กหญิง พ.ศ. 2471 และกลายเป็นพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 (ค.ศ.
               2008) ในปัจจุบัน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้ว 3 ครั้ง ใน ค.ศ. 2015 2017 และ 2018 และถือเป็นกลไกเชิง

               นโยบายระดับชาติในการขับเคลื่อนการท างานในรูปแบบคณะกรรมการ 2 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการป้องกัน

               และปรามปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปคม.) และคณะกรรมการประสานและก ากับการด าเนินงาน
               ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปกค.)

                       การแก้ไขเพิ่มเติมด้วยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ในกฎหมายทั้ง

               3 ฉบับมีเหตุผล ดังนี้ (1) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 (ค.ศ.
               2015) มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทั้งในเรื่องมาตรการสร้างแรงจูงใจใน

               การแจ้งข้อมูล การเพิ่มอ านาจทางปกครองให้แก่เจ้าหน้าที่ และปรับปรุงบทก าหนดโทษที่เกี่ยวข้องให้

               เหมาะสมยิ่งขึ้น (2) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 แก้ไขบท
               นิยามค าว่า “แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” และ “การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ” ให้ชัดยิ่งขึ้น หลักเกณฑ์

               การเรียกค่าสินไหมทดแทน ก าหนดฐานความผิดซึ่งได้กระท าต่อเด็กที่มีอายุไม่เกินสิบห้าปี และแก้ไขเพิ่มเติม

               บทก าหนดโทษ และ (3) พระราชก าหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
               พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2562 ก าหนดความผิดและมาตรการในการคุ้มครองผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือ

               บริการ พิจารณาคดีให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน และอนุวัติการให้เป็นไปตามพิธีสาร ค.ศ. 2014 ส่วน

               เสริมอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930
                       ในเรื่องกระบวนการยุติธรรม ในปี 2016 ไทยได้ออกทั้งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาค้ามนุษย์ พ.ศ.

               2559 และข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยวิธีการด าเนินคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 ซึ่งช่วยให้การด าเนินคดี

               ค้ามนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และสอดคล้องกับการเปิดแผนกคดีค้ามนุษย์ใน
               ศาลอาญา (ประทีป ทับอัตตานนท์, 2560)

                       กฎหมายที่ร่างขึ้นใหม่หรือปรับแก้นั้นยังเป็นผลจากอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์

               โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ที่มีผลบังคับใช้ในปี 2017 หลังจากได้รับการรับรองในระดับภูมิภาคตั้งแต่การ
               ลงนามในปี 2015 และไทยยื่นสัตยาบันสารในปี 2016 (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)

                       ภายในประเทศนั้น รัฐบาลไทยมีความพยายามผลักดันให้เกิดการท างานในเชิงบูรณาการทั้งระหว่าง

               หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและระหว่างพื้นที่ใกล้เคียงกันในรูปแบบ “บันทึกข้อตกลง” (Memorandum of




                                                           [47]
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68