Page 60 - kpiebook62002
P. 60

กลไกเชิงนโยบายในรูปแบบคณะกรรมการระดับชาติและคณะอนุกรรมการหรือ

               คณะท างานเฉพาะกิจภายใต้กรอบทางกฎหมายนี้ยังมีข้อจ ากัดใน 3 ประการ ได้แก่ การขาดความต่อเนื่อง
               รูปแบบการท างานเป็นแท่ง โครงสร้างและระบบงานที่ยังไม่ได้ปรับตามภารกิจใหม่

                               ประการแรก การขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารส่วนราชการ

               บุคลากร หรือเชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในระบบราชการ ประธานแต่ละ P ที่ก ากับดูแลงานแต่
               ละด้านอาจไม่สามารถใช้สิทธิอ านาจได้เต็มที่เพราะถูกโยกย้ายบ่อย ในค าสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเองก็มัก

               ระบุอนุกรรมการให้เป็นผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมักเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

                               ประการที่สอง รูปแบบการท างานเป็นแท่ง ซึ่งเป็นอุปสรรคอยู่ส าหรับการบูรณาการการ
               ท างานข้ามกระทรวงที่ยังคงมีก าแพงระหว่างส่วนราชการ เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรและการท างานที่แตกต่าง

               กันอยู่มาก ทั้งที่การท างานในส่วน 3Ps ได้แก่ Prosecution (การด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) Protection

               (การคุ้มครอง) และ Prevention (การป้องกัน) ไม่สามารถขีดเส้นแบ่งได้เด็ดขาด แต่เชื่อมโยงกันอย่างเช่นกัน
               ด าเนินคดีก็ต้องช่วยเหลือคุ้มครองเหยื่อตามหลักการ “ยึดเหยื่อเป็นศูนย์กลาง” เพราะความร่วมมือจากเหยื่อ

               ในการให้ปากค าหรือรวบรวมพยานหลักฐานจะท าให้การด าเนินคดีเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ

                               ประการที่สาม โครงสร้างและระบบงานที่ยังไม่ได้ปรับตามภารกิจใหม่ โครงสร้างและ
               ระบบงานปัจจุบันไม่ได้ออกแบบรองรับปัญหาการค้ามนุษย์ และแม้ไทยตราพระราชบัญญัติป้องกันและ

               ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โครงสร้างในหลายกระทรวงยังไม่ได้รับการปรับเพื่อรองรับภารกิจเรื่อง

               การค้ามนุษย์ ภารกิจดังกล่าวจึงกลายเป็น “งานฝาก” หรือ “เผือกร้อน” หน่วยงานต่างๆ ไม่อยากรับมาท า
               ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญลึกซึ้งในเรื่องนี้ ปัญหาการค้ามนุษย์ก็เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนแก้ไขได้ยาก (“จับเข่า

               คุย ‘มือปราบการค้ามนุษย์’,” 2561; ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)

                            2. Prosecution (การด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) Protection (การคุ้มครอง)
               Prevention (การป้องกัน) ถือเป็นแกนปฏิบัติงานแต่ยังไม่บูรณาการในการท างานเท่าที่ควร (ธรรมศักดิ์

               วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562) โดยในด้าน Prosecution มุ่งการด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมายกับ

               ผู้กระท าในแง่มุมต่างๆ ทั้งกระบวนการในการปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมาย การสืบสวนสอบสวน และการ
               ด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิดฐานค้ามนุษย์อย่างจริงจัง การจัดโครงการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้

               กฎหมายเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เช่น การคัดกรองแยกแยะเหยื่อจากการค้ามนุษย์ ทักษะใน

               การสืบสวนสอบสวน และการให้ความคุ้มครองในคดีการค้ามนุษย์โดยเน้นเรื่องสิทธิของเหยื่อจากการค้ามนุษย์
               อันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส าหรับด้าน Protection มุ่งให้ความคุ้มครองเหยื่อซึ่งมักอยู่ในขั้นตอนเดียวกับ

               การด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิดฐานค้ามนุษย์ และครอบคลุมขั้นตอนการด าเนินการทุกอย่างทั้งการ

               ด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิดฐานค้ามนุษย์ และการบ าบัดฟื้นฟูผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ ส่วนด้าน Prevention เน้น
               การป้องกันมิให้บุคคลตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์ ได้แก่ การศึกษา การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อ



               มนุษย์ (ค าสั่ง ปคม. ที่ 2/2559) คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาแนวทางปฏิบัติร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ค าสั่ง
               ปกค. ที่ 1/2559), สืบค้นจาก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กองต่อต้านการค้ามนุษย์, https://www.e-aht.com/


                                                           [44]
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65