Page 64 - kpiebook62002
P. 64
Understanding) โดยการบูรณาการการท างานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน ค.ศ. 2018 โดยมีทั้งที่เป็น
บันทึกข้อตกลงว่าด้วยแนวทางปฏิบัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ระบบฐานข้อมูลของประเทศ
6
ไทยด้านการด าเนินคดีและการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2561 และ บันทึกความร่วมมือว่า
7
ด้วยการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ เพื่อบังคับคดีให้เป็นไปตามค าพิพากษา เพื่อพัฒนา
ฐานข้อมูลการด าเนินคดี และช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ให้เป็นต้นแบบของอาเซียน (รัฐบาลไทย,
2561ค) ในส่วนพื้นที่นั้นได้จัดท าบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติส าหรับป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์
โดยมุ่งแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ที่เกิดขึ้นในจังหวัดต่างๆ ในชื่อว่า “บันทึกข้อตกลงเรื่องแนวทางปฏิบัติร่วมกัน
ระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวกับการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์” ซึ่งจัดพื้นที่และ
ล าดับเวลาโดยเฉพาะในช่วง ค.ศ. 2006-2008 ได้ดังนี้ 19 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ค.ศ. 2006) 8
จังหวัด ภาคตะวันออก (ค.ศ. 2006) 8 จังหวัด ภาคใต้ฝั่งตะวันออก (ค.ศ. 2007) 6 จังหวัด ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
(ค.ศ. 2007) 17 จังหวัด ภาคเหนือ (ค.ศ. 2007) 8 จังหวัด ภาคกลางตอนบน (ค.ศ. 2008) 9 จังหวัด ภาค
กลางตอนล่าง (ค.ศ. 2008) (ศิบดี นพประเสริฐ, 2558, น. 28–29)
การเชื่อมโยงกลไกรับมือปัญหาระดับชาติของไทยตามยุทธศาสตร์ 5Ps ตั้งแต่ขั้นแนวคิด หน่วยงาน
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นการท างานที่บูรณาการกันโดยสมบูรณ์มีความส าคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะในช่วง
ที่ไทยถูกลดระดับในรายงานการค้ามนุษย์ลงมาอยู่กลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (Tier 2
Watch List) ในช่วง ค.ศ. 2010–2013 ก่อนที่จะตกไปอยู่ในกลุ่มที่ 3 ใน ค.ศ. 2014–2015 สะท้อนถึงระบบ
การท างานของรัฐบาลไทยที่ยังไม่เข้าใจมาตรฐานขั้นต่ าตามกฎหมายคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์
และความรุนแรง (TVPA) ที่มีรายละเอียดและข้อก าหนดดีพอ อาทิ กระบวนการด าเนินคดีตั้งแต่การสืบสวน
8
จับกุม ฟ้องคดี การพิพากษาว่ากระท าความผิด และการพิพากษาลงโทษ ต้องสื่อสารท าความเข้าใจและบูรณา
การการท างานหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นอย่างมาก (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
ซึ่งใน TVPA มีทั้งหมด 4 ข้อ สรุปได้ดังนี้ (United States, Department of State, 2018, p. 44).
1) รัฐบาลห้ามไม่ให้มีการค้ามนุษย์ และมีการลงโทษหากมีการค้ามนุษย์เกิดขึ้น
2) รัฐบาลก าหนดบทลงโทษที่ชัดเจนและเพียงพอต่อการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหา
ประโยชน์ทางเพศ การค้ามนุษย์ที่มีเหยื่อเป็นเด็ก หรือการค้ามนุษย์ที่มีการข่มขืน การลักพาตัว หรือที่มีเหยื่อ
เสียชีวิต
6 ประกอบด้วย 10 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2) ส านักงานต ารวจแห่งชาติ (3) กรมสอบสวนคดี
พิเศษ (4) ส านักงานอัยการสูงสุด (5) ส านักงานศาลยุติธรรม (6) ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (7) ส านักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (8) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ (9) กรมการปกครอง และ (10) ส านักงานพัฒนา
รัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
7 ประกอบด้วย 5 หน่วยงาน ได้แก่ (1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (2) ส านักงานศาลยุติธรรม (3) กรมบังคับคดี
(4) กรมการขนส่ง และ (5) กรมการปกครอง
8 ในกรณีของไทยค าพิพากษาออกมาฉบับเดียวโดยเป็นทั้ง “การพิพากษาว่ากระท าความผิด” (conviction) และ “การพิพากษาลงโทษ”
(sentence) แต่ในกรณีบางประเทศผู้พิพากษาทั้งสองขั้นตอนเป็นคนละคนกัน ผู้วิจัยขอขอบคุณอาจารย์ธนรัตน์ มังคุด อาจารย์ประจ าหลักสูตร
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ช่วยอธิบายประเด็นนี้เพิ่มเติม
[48]