Page 65 - kpiebook62002
P. 65
3) รัฐบาลก าหนดบทลงโทษที่รุนแรงเพียงพอต่อการป้องกันไม่ให้เกิดการค้ามนุษย์ และสะท้อนความ
ร้ายแรงของความผิด
4) รัฐบาลแสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จริงจังและต่อเนื่องในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์
โดยเฉพาะข้อ 4 “ความพยายามที่จริงจังและต่อเนื่อง” (serious and sustained efforts) ของ
รัฐบาลที่มีหลักเกณฑ์มากถึง 12 ข้อ ได้แก่ (1) การสืบสวนและด าเนินคดี (2) การคุ้มครองเหยื่อและช่วยเหลือ
เหยื่อ (3) การก าหนดมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์ เช่น การให้ข้อมูลและความรู้ การก าหนดอัตลักษณ์ของ
บุคคล และการป้องกันการใช้แรงงานบังคับหรือแรงงานเด็ก) (4) การร่วมมือกับรัฐบาลประเทศอื่นๆ (5) การ
ส่งผู้กระท าผิดฐานค้ามนุษย์ข้ามแดน (6) การเฝ้าระวังรูปแบบการเข้าออกเมืองเพื่อหาหลักฐานกรณีการค้า
มนุษย์ (7) การสืบสวน ด าเนินคดี และลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเพิกเฉยต่อการค้ามนุษย์
(8) จ านวนเหยื่อที่ไม่ใช่ประชากรของประเทศนั้นๆ มีจ านวนน้อย (9) เข้าร่วมหุ้นส่วน กลไกความร่วมมือ ความ
ตกลง ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและวัดได้กับองค์การภาคประชาสังคมภายในประเทศ ภาคเอกชน
องค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศ กลไกหรือความตกลงพหุภาคีหรือระดับภูมิภาค หรือกับสหรัฐอเมริกา
(10) ติดตามประเมินความพยายามตามข้อ 1–8 และแจ้งผลการประเมินให้สาธารณชนทราบเป็นระยะ (11) มี
ความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์จากปีที่แล้ว (12) มีความพยายามอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อลด
ความต้องการของการค้าเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการมีส่วนร่วมของประชากรของประเทศนั้นๆ ใน
การท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศ (United States, Department of State, 2018, pp. 44–45)
หลักเกณฑ์ในเรื่อง “ความพยายามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง” ข้างต้นนี้นับว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลมี
รายละเอียดที่ต้องน าเสนอและสื่อสารเยอะเพราะจะถูกสอบถามเป็นรายคดีทั้งในเรื่องกระบวนการด าเนินคดี
การสืบสวนจับกุม ไปจนถึงการพิพากษาลงโทษ (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562) ซึ่งจาก
ตารางข้างล่างนี้ที่เชื่อมโยงหลักเกณฑ์ดังกล่าวกับยุทธศาสตร์ 5Ps ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทย
จ าเป็นต้องออกแบบระบบการท างานให้บูรณาการกันและเป็นระบบมากยิ่งขึ้นเพื่อการแก้แก้ไขปัญหาเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน (ดู ตารางที่ 2.3)
[49]