Page 70 - kpiebook62002
P. 70

คณะกรรมาธิการยุโรปตั้งแต่ปี 2015 จากความก้าวหน้าในการแก้ไขการท าการประมงผิดกฎหมาย ขาดการ

               รายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ซึ่งการให้ใบเหลืองนี้ถือเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการที่จะ
               น าไปสู่การห้ามน าเข้าผลิตภัณฑ์ประมงทะเลเข้าสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์นั้น (กระทรวงการต่างประเทศ,

               2562ก; European Commission, 2019) ความส าเร็จนี้มาจาการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งต ารวจ

               อัยการ กรมประมง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานท างานอย่างจริงจัง
               และต่อเนื่อง กระทรวงการต่างประเทศโดยเอกอัครราชทูตวีรชัย พลาศรัย ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้า

               คณะเจรจากับสหภาพยุโรปในเรื่องดังกล่าว ก็มีบทบาทเจรจากับ Directorate-General ด้านกิจการทะเลและ

               ประมง (Maritime Affairs and Fisheries) ของคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งอยู่ในการก ากับดูแลของกรรมาธิการ
               ยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล และประมง Karmenu Vella คณะกรรมการประมง (Committee on

               Fisheries: PECH) ของสภายุโรป และกลุ่มองค์การนอกภาครัฐ การแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังยังเป็นช่วง

               เดียวกับที่ไทยได้รับการปรับระดับในรายงานการค้ามนุษย์ขึ้นเป็นกลุ่มที่ 2 ในปี 2018 ด้วย (สุภลักษณ์,
               สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)

                       การจัดการการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) ของสหภาพ

               ยุโรปนี้กลายเป็นแนวโน้มมาตรฐานสากลที่ไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไทยควรคงการปฏิบัติตามและรักษา
               มาตรฐานที่สูงเช่นนี้ไว้และใช้โอกาสหยิบยกเข้าไปเป็นวาระในอาเซียนซึ่งก็มีปัญหาการท าการประมงในน่านน้ า

               เดียวและมีข้อพิพาทระหว่างกันอยู่เป็นระยะๆ  เรื่องแรงงานประมงดังที่กล่าวมานี้ ประเทศไทยควรถือโอกาสที่

               รักษาการปฏิบัติตามมาตรฐานที่สูงนี้ ตัวอย่างเช่น การการทวนสอบย้อนกลับ (traceability) ผลิตภัณฑ์ได้ การ
               ตรวจสอบเรือด้วยการติดตั้ง GPS (สุภลักษณ์, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)



                     กลไกรับมือปัญหาการค้ามนุษย์ด้วยการบริการทางเพศ แรงงานเด็ก และแรงงานรับใช้ในบ้าน
                       ปัญหาการค้ามนุษย์ในประเด็นการค้าบริการทางเพศ แรงงานเด็ก และแรงงานรับใช้ในบ้านมีความ

               เชื่อมโยงและซับซ้อน จึงน าเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นแนวทางเดียวกัน กล่าวคือ การแก้ปัญหาการค้า

               มนุษย์ที่เกิดขึ้นกับการค้าบริการทางเพศนั้น หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ คือ ส านักงานต ารวจแห่งชาติโดย
               ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ส านักนายกรัฐมนตรี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการ

               พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้แทนองค์การนอกภาครัฐ ท าหน้าที่ควบคุมดูแล ตลอดจนหา

               มาตรการเพื่อป้องกันและปราบปราม เพื่อไม่ให้เด็กหญิงเข้าสู่อาชีพการขายบริการทางเพศได้ เครื่องมือที่ใช้ใน
               การจัดการปัญหาค้ามนุษย์ที่กล่าวถึงนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการใช้กฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกัน

               จัดการและแก้ไขเพื่อไม่ให้ผู้กระท าผิดกล้าเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์ ส าหรับแนวทางนี้ ส่วนใหญ่จะต้องใช้

               กฎหมายในการจัดการป้องกัน และแก้ปัญหา อีกทั้งประเทศไทยต้องด าเนินการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
               แรงงานข้ามชาติหญิงให้สอดคล้องกับพันธกรณีในสนธิสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับที่ไทยเป็นภาคีตั้งแต่

               การคุ้มครองสิทธิต่างๆ ทั้งสิทธิแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ

               เมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ไปจนถึง




                                                           [54]
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75