Page 73 - kpiebook62002
P. 73
(4) ส านักสอบสวนคดีค้ามนุษย์ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ส านักสอบสวนคดีค้ามนุษย์ด้านการบังคับ
ใช้แรงงานและบริการ และแรงงานเด็ก ส านักสวนคดีค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมง ส านักสอบสวนคดีค้ามนุษย์
ด้านขอทาน ส านักสอบสวนคดีค้ามนุษย์การเอาคนลงเป็นทาส และการบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
(5) สถาบันวิจัยและกองทุน ได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาการป้องกันและปราบปรามการค้า
มนุษย์ และกองทุนเพื่อการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์
(6) ส านักงานพื้นที่ ได้แก่ ส านักงาน ปปม. กทม. และส านักงาน ปปม. ภาค 1 - ภาค 9
5) อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจ า 6 ประเทศ ได้แก่
สหรัฐอเมริกา และกลุ่ม CLMMV ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมา มาเลเซีย เวียดนาม
จากผลงานวิจัยข้างต้น การจัดตั้ง “ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์”
(ป.ป.ม.) จะเปลี่ยนรูปแบบการท างานในลักษณะเฉพาะกิจเข้าสู่การท างานแบบยั่งยืนถาวร มีระบบ และ
โครงสร้างหน่วยงานรองรับ พร้อมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นกลไกการท างานที่ขับเคลื่อน แบบเต็มเวลา และ
แก้ไขปัญหาที่การต่อต้านการค้ามนุษย์เป็น “งานฝาก” ในหน่วยงานของกระทรวงต่างๆ ซึ่งยังไม่มีการปรับ
โครงสร้างรอบรับภารกิจ บุคลากรที่เชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ก็มีไม่เพียงพอ อีกทั้งเป็นหลักประกันในความ
ต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นนโยบายส าคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ไทยก้าวขึ้นสู่กลุ่มที่ 1 ในรายงานการค้ามนุษย์ได้
(“จับเข่าคุย ‘มือปราบการค้ามนุษย์’,” 2561)
ข้อสรุปส าคัญประการหนึ่งจากการอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่ 1 ประเด็นการค้ามนุษย์
และการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ ของโครงการวิจัยเรื่อง “ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่: การค้ามนุษย์ การย้ายถิ่น
แบบไม่ปกติ อาชญากรรมข้ามชาติ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2019 คือ การ
พัฒนาความเป็นสถาบัน (institutionalization) การต่อต้านการค้ามนุษย์จากเดิมที่มีลักษณะเฉพาะกิจ (ad-
hoc) ให้กลายเป็นส านักงานต่อต้านการค้ามนุษย์ระดับชาติอย่าง “ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์” (ป.ป.ม.) จ าเป็นต้องใช้การตัดสินใจทางการเมือง โดยควรเริ่มต้นจากหน่วยงาน
ขนาดเล็กที่เป็นเจ้าภาพในแง่วิชาการมากกว่าพิจารณาในเรื่องความผิดทางกฎหมายอย่างเดียว เพื่อให้เป็น
หน่วยงานที่มีความรู้ในการจัดการเฉพาะดูแลในภาพรวม (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม
2562) เน้นการสร้างบุคลาการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ ซึ่งปัจจุบันมีกรอบแนวคิดและแนวปฏิบัติส าหรับ
ผู้ปฏิบัติงาน (Practitioner Guidelines) ไว้พร้อมแล้วในอาเซียน การสร้างสมรรถนะของอาเซียนให้มีการ
ประสานงานกับประเทศปลายทาง มีฐานข้อมูลถาวรของอาเซียน ก าหนดขอบเขตความรับผิดชอบให้ชัดเจน
เช่น ดูแลทั้งเรื่องการค้ามนุษย์และการลักลอบขนย้ายคน เพราะการสืบสวนคดีมีลักษณะที่ซ้อนทับกันอยู่ มี
องค์ประกอบเหมือนกันมาก ขึ้นอยู่กับหลักฐานว่าจะน าไปสู่คดีค้ามนุษย์ได้หรือไม่ (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ,
สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562) ซึ่งหากไม่ใช้การตัดสินใจทางการเมือง ก็จะติดข้อจ ากัดจากเกณฑ์ของส านักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ที่จะให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่เฉพาะที่มี “เหตุผลความจ าเป็น” และ
“ค านึงถึงค่าใช้จ่าย” (ส านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2561, 2562) เงื่อนไขอีกประการหนึ่ง คือ การค้ามนุษย์
ยังไม่ถูกมองว่าเป็นประเด็นที่รุนแรงเท่ากับยาเสพติดที่ต้องมีส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
[57]