Page 77 - kpiebook62002
P. 77

ทาง ทางผ่าน หรือปลายทางจัดการกับความท้าทาย ล าดับความส าคัญ และยุทธศาสตร์ระดับชาติที่

               หลากหลายออกไปในการต่อสู้กับการค้ามนุษย์ (ASEAN, 2015b)
                       ในอนุสัญญา ACTIP ยังมุ่งจัดการเหยื่อของการค้ามนุษย์ด้วยการบูรณาการกลับสู่สังคมของภาคีผู้ส่ง

               ภาคีที่เหยื่อการค้ามนุษย์เป็นคนชาติหรือมีสิทธิมีถิ่นที่อยู่ถาวรในช่วงที่เข้าสู่ดินแดนภาคีผู้รับต้องอ านวยความ

               สะดวกและยอมรับการกลับภูมิล าเนาของบุคคลโดยไม่ล่าช้าเกินควรหรือไม่มีเหตุผล โดยค านึงถึงความ
               ปลอดภัยของบุคคล หากเหยื่อที่จะกลับภูมิล าเนาไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง ก็ต้องออกเอกสารเดินทางหรือการ

               อนุญาตอื่นๆ ที่อาจจ าเป็นต่อการให้บุคคลเดินทางและกลับเข้ามาในดินแดนตน ตามการร้องขอของภาคีผู้รับ

               (ASEAN, 2015b)
                       ส่วนแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (APA) ค.ศ.

               2015 มุ่งให้มีแผนปฏิบัติการเฉพาะภายในกฎหมายและนโยบายภายในประเทศ รวมทั้งพันธกรณีระหว่าง

               ประเทศที่เกี่ยวข้องของรัฐสมาชิก เพื่อจัดการความท้าทายในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งทุกรัฐสมาชิกมี
               ร่วมกันในเรื่องส าคัญ ได้แก่ การป้องกันการค้ามนุษย์ การคุ้มครองเหยื่อ การบังคับใช้และด าเนินคดี

               อาชญากรรมการค้ามนุษย์ และความร่วมมือและการประสานงานระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ซึ่งก็คือ

               4Ps ในยุทธศาสตร์การต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้แก่ Prevention Protection Prosecution และ Partnership
               ตามล าดับ แผนปฏิบัติการฯ ยังก าหนดให้การค้ามนุษย์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ

               การแสวงหาประโยชน์จากแรงงาน และการค้าอวัยวะ เป็นความผิดทางอาญา ตามการแบ่งประเภทการค้า

               มนุษย์ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร (United
               Nations Convention Against Transnational Organized Crime: UNTOC) และพิธีสารเพื่อป้องกัน

               ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (Protocol to Prevent, Suppress and

               Punish Trafficking in Persons, Especially Women and Children) (ASEAN, 2015c)
                       แผนปฏิบัติการนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนมุ่งจัดการการค้ามนุษย์

               ทุกรูปแบบอิงตามอนุสัญญา UNTOC และพิธีสารฯ โดยมองทั้งมิติการจัดการปัญหาและเหยื่อ โดยอาศัยความ

               ร่วมมือระดับภูมิภาคและร่วมกันแบกรับความรับผิดชอบ อีกทั้งต้องค านึงถึงอุปสงค์และอุปทานที่ก่อให้เกิด
               การค้ามนุษย์ โดยเนื้อหาของแผนปฏิบัติการนี้มีรายละเอียดแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ การป้องกันการค้า

               มนุษย์ การคุ้มครองเหยื่อ การบังคับใช้กฎหมายและการด าเนินคดีอาชญากรรมการค้ามนุษย์ และความร่วมมือ

               และการประสานงานระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ ตาม 4Ps ในยุทธศาสตร์การต่อต้านการค้า
               มนุษย์เช่นเดียวกับในอนุสัญญาฯ ส่วนกลไกการด าเนินการ ให้แต่ละรัฐพยายามรวมโครงการและกิจกรรมที่

               เกี่ยวข้องแผนปฏิบัติการนี้เข้าไปในแผนปฏิบัติการแห่งชาติของตน โดยที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้าน

               อาชญากรรมข้ามชาติ (SOMTC) ด้วยการสนับสนุนของคณะท างานว่าด้วยการค้ามนุษย์ (Working Group on
               Trafficking in Persons) เป็นผู้ควบคุมดูแลการด าเนินการ (ASEAN, 2015c)

                       ส่วนแผนการด าเนินงานในเรื่องการค้ามนุษย์โบฮอล ค.ศ. 2017–2020 (Bohol Trafficking in

               Persons Work Plan 2017-2020: Bohol TIP Work Plan) มุ่งเน้นการปรับกิจกรรมระดับภูมิภาคในการ




                                                           [61]
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82