Page 82 - kpiebook62002
P. 82

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีส่วนร่วมจัดการประชุมที่ส าคัญ เช่น การประชุมคณะท างานเฉพาะกิจ

               ระดับภูมิภาค (Regional COMMIT Task Force) และการประชุมเชิงปฏิบัติการกับกระทรวงและองค์การภาค
               ประชาสังคมที่เกี่ยวข้องจากรัฐสมาชิก COMMIT เพื่อพัฒนาหลักการและแนวปฏิบัติส าหรับการจ้างงานที่เป็น

               ธรรม (COMMIT Guidelines for Fair Recruitment) ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2017 โดยได้รับการสนับสนุน

               ทางวิชาการและการเงินจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้าย
               ถิ่นฐาน (IOM) ส านักงานป้องกันยาเสพติดและปรามปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) (IOM,

               2019)

                       2.  กระบวนการบาหลีว่าด้วยการลักลอบขนย้ายคน การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่
               เกี่ยวข้อง (Bali Process on People Smuggling, Trafficking in Persons and Related Transnational

                      10
               Crime)  ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเกี่ยวกับการลักลอบขนคนเข้า
               เมือง การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสมาชิก 49 ประเทศและองค์การ
               ระหว่างประเทศ และผู้สังเกตการณ์ 27 ประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์การ สมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

               เป็นสมาชิกกระบวนการบาหลีด้วย

                         กระบวนการบาหลีเป็นกรอบการท างานที่เกิดขึ้นและจัดการโดยรัฐ (state-led) จัดตั้งขึ้นโดยมี
               ประธานร่วม (Co-Chairs) 2 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย การประชุมรัฐมนตรีระดับภูมิภาค

               “กลุ่มขับเคลื่อน”  (Steering Group) “กลุ่มเฉพาะกิจ” (Ad Hoc Group: AHG) ส านักงานสนับสนุนระดับ

               ภูมิภาค (Regional Support Office: RSO) โดยไทยเป็นสมาชิก “กลุ่มขับเคลื่อน” (Steering Group)
               สนับสนุนการท างานของออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย ที่เป็นประธานร่วม (Co-Chairs) ส านักงานสนับสนุน

               ระดับภูมิภาค (Regional Support Office: RSO) ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เปิดท าการเมื่อเดือนกันยายน 2012 เพื่อ

               อนุวัติกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค (Regional Co-operation Framework: RCF)
                         กลุ่มเฉพาะกิจซึ่งไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก 16 รัฐและองค์การระหว่างประเทศอีก 3 องค์การ

               แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลุ่มเฉพาะกิจ (Ad Hoc Group Senior Officials

               Meetings) ซึ่งไทยเคยจัดการประชุมครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 (2) คณะท างาน
               ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในประเด็นการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติ (Ad Hoc Group Technical Experts Working

               Group on Irregular Movements) (3) เครือข่ายเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานการเข้าเมืองระดับภูมิภาค

               (Regional Immigration Liaison Officer Network: RILON) (4) คณะท างานด้านการค้ามนุษย์ (Working
               Group of Trafficking in Persons) (5)  คณะท างานว่าด้วยการขจัดเครือข่ายอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการ

               ลักลอบขนย้ายคนและการค้ามนุษย์ (Working Group on Disruption of Criminal Networks Involved in

               People Smuggling and Trafficking in Persons) และ (6) คณะท างานเฉพาะกิจด้านการวางแผนและการ
               เตรียมความพร้อม (Task Force on Planning and Preparedness: TFPP) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในที่ตั้งของ





               10   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ทางการของกระบวนการบาหลี, http://www.baliprocess.net


                                                           [66]
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87