Page 83 - kpiebook62002
P. 83
เครือข่ายเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานการเข้าเมืองระดับภูมิภาค (RILON) ซึ่ง มีหน้าที่รายงานความก้าวหน้า
ต่อคณะท างานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในประเด็นการเคลื่อนย้ายแบบไม่ปกติ
นอกจากการเป็นสมาชิกองค์กรและเป็นที่ตั้งของส านักงานแล้ว ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมใน
กระบวนการบาหลีทั้งมีผู้แทนไทย คือ ดร.ชัชชม อรรฆภิญญ์ ส านักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้ประสานงาน
คณะท างานนโยบาย กรอบกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย (Coordinator of Bali Process activities
on Policy and Law Enforcement Response) ให้เงินอุดหนุนการด าเนินงานของส านักงานสนับสนุนระดับ
ภูมิภาคและกระบวนการบาหลีระหว่างปี 2012–2014 เป็นจ านวนเงิน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งริเริ่ม
กิจกรรมในกรอบกระบวนการบาลี เช่น ร่วมกับออสเตรเลียเพื่อจัดประชุมปฏิบัติการในหัวข้อการให้สัตยาบัน
และการด าเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้ง
ในลักษณะองค์กร (UNTOC) เมื่อปลายปี 2012 ซึ่งได้มีการต่อยอดกิจกรรมดังกล่าวในช่วงปี 2014 (กรม
องค์การระหว่างประเทศ, 2558) UNTOC นี้ประเทศไทยลงนามใน ค.ศ. 2000 แต่มาให้สัตยาบันเป็นภาคีทั้ง
อนุสัญญาดังกล่าวและพิธีสารเพื่อป้องกัน ปราบปราม และลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก
(Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, Especially Women and
Children) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013
ความร่วมมือของอาเซียนทั้งในกรอบอาเซียนและที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ใน
ความร่วมมือที่เชื่อมโยงกันอย่างเข้มข้น เพราะประเทศสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะที่เป็นเพื่อนบ้านของไทยใน
อยู่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขงในการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ าโขงเพื่อต่อต้านการค้า
มนุษย์ (COMMIT) ในขณะเดียวกันก็มีความร่วมมือระดับทั้งภูมิภาคในอาเซียน ซึ่งมีอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วย
การต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ค.ศ. 2015 เป็นกรอบทางกฎหมายในการต่อต้าน
การค้ามนุษย์ระดับภูมิภาค โดยที่มีทั้งแผนปฏิบัติการและแผนงาน จนถึงขั้นมีแนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงาน
และรายงานความก้าวหน้าในปัจจุบัน กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนนี้เองก็อยู่ในกระบวนการปรึกษาหารือระดับ
ภูมิภาคที่กว้างออกไปอีก คือ กระบวนการบาหลีว่าด้วยการลักลอบขนย้ายคน การค้ามนุษย์ และอาชญากรรม
ข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง (Bali Process on People Smuggling, Trafficking in Persons and Related
Transnational Crime) ซึ่งมีสมาชิก 49 และผู้สังเกตการณ์อีก 29 ประเทศและองค์การ ดังนั้น ความร่วมมือ
ของอาเซียนในเรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์นี้จึงมีความเข้มแข็งเป็นรูปธรรมที่จะผลักดันให้ไทยร่วมมือแก้ไข
ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่จะมาช่วยเสริมได้ก็คือ ความร่วมมือทวิภาคีของไทยกับประเทศต่างๆ
2.4 ความร่วมมือทวิภาคีของไทย
ความร่วมมือทวิภาคีของไทยกับประเทศต่างๆ มีความส าคัญอย่างมากในการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่ง
เป็นแนวทางที่ถูกต้องที่จะผลักดันให้ความร่วมมือเกิดผลเป็นรูปธรรมตามกรอบการท างานในระดับภูมิภาค
ต่างๆ ไทยจึงเป็นเหมือน “ศูนย์รวม” (hub) ของความร่วมมือในเรื่องนี้ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา
[67]