Page 81 - kpiebook62002
P. 81
สาธารณะ และกระทรวงกิจการสังคม ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศและภาคประชาสังคม ท าหน้าที่
ตัดสินใจส าคัญทุกเรื่องที่เกี่ยวกับโครงการและนโยบายในประเทศตนตามโครงการของ COMMIT ซึ่งสะท้อน
อยู่ในแผนการด าเนินงานประจ าปี ในแต่ละประเทศจะมีการประชุมคณะท างานนี้เป็นประจ าเพื่อเป็นเวทีส าคัญ
ยิ่งในการส่งเสริมการตอบโต้อย่างหลากหลายสาขาต่อการค้ามนุษย์ ส่วนในระดับภูมิภาค ผู้แทนสองคนจากแต่
ละคณะท างานเฉพาะกิจระดับชาติประชุมกันปีละ 2 ครั้งเพื่อก าหนดล าดับความส าคัญและจัดการหารือ
เกี่ยวกับประเด็นเร่งด่วนในระดับภูมิภาคใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ การค้ามนุษย์ การลักลอบขนผู้ย้ายถิ่น และ
แรงงานบังคับ
COMMIT กลายเป็นเวทีในการพัฒนาความไว้วางใจและความเชื่อมั่นระหว่างประเทศอนุภูมิภาค
ลุ่มแม่น้ าโขงซึ่งห้าประเทศยกเว้นจีนเป็นสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับประเด็นการค้ามนุษย์รวมทั้งระบบที่มี
ประสิทธิภาพในการพัฒนาและด าเนินกิจกรรมร่วมกันโดยมีผลลัพธ์ที่ส าคัญ เช่น
- บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขง
(COMMIT MOU) ค.ศ. 2014 อันเป็นผลจากการบรรลุความตกลงของรัฐบาลในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขง
หลังจากการหารือโต๊ะกลมกันมา 3 รอบตั้งแต่กลางปี 2013 เพื่อก าหนดแผนแม่บทในการท างานร่วมกันในการ
ต่อต้านการค้ามนุษย์ในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขง และแสดงถึงการยอมรับว่า การค้ามนุษย์ส่งผล
ต่อความมั่นคงของมนุษย์และสิทธิมนุษยชนของบุคคล การค้ามนุษย์เป็นผลลัพธ์โดยตรงของการขาดความ
มั่นคงของมนุษย์และต้องจัดการทั้งในระดับบุคคล สังคม ชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ
- ปฏิญญาร่วม (COMMIT Joint Declaration) ระดับรัฐมนตรีออกมาแล้วจ านวน 3 ฉบับ ใน
ค.ศ. 2007 2012 และ 2015 เพื่อยืนยันถึงพันธกรณีตาม COMMIT MOU โดยในปฏิญญาร่วมฉบับที่ 3 (Third
Joint Declaration of the Coordinated Mekong Ministerial Initiative Against Human Trafficking)
ค.ศ. 2015 ที่ต้องการพัฒนาให้ COMMIT กลายเป็น “กลไกการส่งต่อและคุ้มครองข้ามชาติ” (Transnational
Referral and Protection Mechanism) ที่ครอบคลุมนโยบาย ความเป็นหุ้นส่วน และมาตรการป้องกันที่
จ าเป็นในการต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมทั้งจัดตั้งให้เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในโลกในเรื่องนี้ (COMMIT, 2015)
- คู่มือส าหรับกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ าโขง: สนับสนุนการบูรณาการกลับสู่สังคมของ
ผู้ถูกค้ามนุษย์ (A Guidebook for the Greater Mekong Sub-Region: Supporting the Reintegration of
Trafficked Persons) ค.ศ. 2017
- ตัวชี้วัดร่วมส าหรับผู้ตอบสนองรายแรกในการระบุเหยื่อการค้ามนุษย์และรูปแบบการ
แสวงหาผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ค.ศ. 2016 ซึ่งพัฒนาและรับรองร่วมกับอาเซียนโดยเฉพาะที่ประชุมเจ้าหน้าที่
อาวุโสว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (SOMTC) ด้วยการสนับสนุนจากโครงการออสเตรเลีย-เอเชียเพื่อต่อต้าน
การค้ามนุษย์ (AAPTIP) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) องค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศ (ILO) และปฏิบัติการความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-ACT)
- แนวปฏิบัติร่วมในการระบุเหยื่อและกลไกการส่งต่อ (Victim Identification and Referral
Mechanisms: Common Guidelines for the Greater Mekong Sub-Region) ค.ศ. 2016
[65]