Page 78 - kpiebook62002
P. 78

ต่อต้านการค้ามนุษย์ให้สอดคล้องกันใน 4 เรื่องหลักตามแผนปฏิบัติการ APA และ 4Ps ในยุทธศาสตร์

               ยุทธศาสตร์การต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้แก่ การป้องกันการค้ามนุษย์ การคุ้มครองเหยื่อ การบังคับใช้กฎหมาย
               และการด าเนินคดีอาชญากรรมการค้ามนุษย์ และความร่วมมือและการประสานงานระดับภูมิภาคและระดับ

               ระหว่างประเทศ โดยรวมผลลัพธ์ที่คาดหวังของแต่ละกิจกรรมและสถานการด าเนินการเพื่อใช้อ้างอิงในการ

               ติดตามและประเมินแผนการด าเนินงาน ซึ่งจะน าไปรายงานปีละ 2 ครั้ง และประเมิน 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงครึ่ง
               รอบ และช่วงสุดท้าย ส่วนเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลจะพัฒนาขึ้นโดยค านึงถึงเครื่องมือที่ใช้ในการ

               ติดตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN, 2017)

                       เมื่ออาเซียนมีทั้งอนุสัญญา แผนปฏิบัติการ และแผนการด าเนินงานในการต่อต้านการค้ามนุษย์แล้ว
               อาเซียนได้ปรับปรุงกรอบแนวคิดของผู้ปฏิบัติงานในการด าเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อตอบโต้

               การค้ามนุษย์ (Criminal Justice Responses to Trafficking in Persons) ในภูมิภาคอาเซียนใหม่ในปี 2018

               ทั้ง “แนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงานของอาเซียน” (ASEAN Practitioner Guidelines) (ASEAN, 2018a) และ
               “รายงานความก้าวหน้า” (Progress Report) (ASEAN, 2018b) ซึ่งการด าเนินการตามเอกสารเหล่านี้จะ

               น าไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาที่ครบถ้วนยิ่งขึ้น (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562) โดย

               “ผู้ปฏิบัติงาน” ในที่นี้หมายถึง พนักงานสืบสวนสอบสวนอย่างต ารวจ อัยการ หรือข้าราชการตุลาการ
               โครงการออสเตรเลีย-เอเชีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (Australia-Asia Program to Combat Trafficking in

               Persons Program: AAPTIP) ให้การสนับสนุนการจัดท าเอกสารทั้งสองฉบับและน ามาใช้จัด “การอบรมเชิง

               ปฏิบัติการส าหรับผู้ปฏิบัติงานของอาเซียนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อตอบโต้การค้ามนุษย์”
               (ASEAN Practitioners Workshop on Criminal Justice Responses to Trafficking in Persons) ในวันที่

               22–24 พฤษภาคม 2018 ที่กรุงเทพฯ (Australia-Asia Program to Combat Trafficking in Persons,

               2018) ก่อนที่เอกสารทั้งสองจะได้รับการรับรองในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ
               และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 18 ณ เมืองปูตราจายา ประเทศมาเลเซีย ในวันที่ 24–27 กันยายน 2018

                       เนื้อหาของรายงานความก้าวหน้าจัดแบ่งตามองค์ประกอบหลัก 7 ประการในกระบวนการยุติธรรม

               ทางอาญาเพื่อตอบโต้การค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ (1) กรอบทางกฎหมายที่เข้มแข็งและครอบคลุม
               (2) สมรรถนะเชิงสืบสวนสอบสวนของผู้ช านาญ (3) สมรรถนะการบังคับใช้กฎหมายแนวหน้า (4) สมรรถนะ

               ทางอัยการและตุลาการที่เข้มแข็งและได้รับข้อมูลเป็นอย่างดี (5) การระบุเหยื่อที่รวดเร็วและถูกต้อง การให้

               การคุ้มครองและสนับสนุนโดยทันที (6) การสนับสนุนพิเศษต่อเหยื่อและพยาน และ (7) ความร่วมมือระหว่าง
               ประเทศที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการประเมินในรายละเอียดเป็นรายประเทศรวมถึงประเทศไทย โดยที่แต่ละบท

               เริ่มต้นด้วยการประเมินโดยย่อเกี่ยวกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานกันของกฎหมายและ

               นโยบายทั้งในระดับระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับชาติ รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่ดีที่ได้รับการยอมรับ
               โดยให้ความส าคัญกับข้อบทในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก

               (ACTIP) ซึ่งปัจจุบันเป็นที่มาหลักของสิทธิและพันธกรณีของประเทศในภูมิภาค จากนั้นเป็นการให้ภาพรวม

               ความก้าวหน้าในภูมิภาคอาเซียนที่มุ่งบรรลุมาตรฐานดังแสดงเป็นตัวอย่างของการปฏิบัติที่ดีจากรัฐสมาชิก




                                                           [62]
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83