Page 75 - kpiebook62002
P. 75

-  ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและหน่วยด้านการคลังและการเงิน ได้แก่ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่

               อาวุโสธนาคารกลางและกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance and Central Bank Deputies
               Meeting: AFDM) และหน่วยข่าวกรองทางการเงิน (Financial Intelligence Unit) ของแต่ละรัฐสมาชิก

                            -  ที่ประชุมผู้อ านวยการกรมการตรวจคนเข้าเมือง และหัวหน้ากองการกงสุลของกระทรวง

               การต่างประเทศ (Directors-General of Immigration Departments and Heads of Consular Affairs
               Divisions of Ministries of Foreign Affairs Meeting: DGICM) (ASEAN, 2017)

                       ไปจนถึงองคภาวะที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนอย่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในอาเซียน เช่น ที่

               ประชุมอธิบดีกรมต ารวจอาเซียน (ASEAN Chiefs of Police Conference: ASEANAPOL)
                       ในระดับอาเซียนนั้น ความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์อิงตราสารระหว่างประเทศและภูมิภาค

               ทั้งที่เป็นสนธิสัญญาและไม่ใช่สนธิสัญญานอกเหนือจากกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของแต่ละประเทศ

               ส าหรับตราสารของอาเซียนนั้นที่เป็นสนธิสัญญามี 2 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้า
               มนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก และสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาของ

               ประเทศอาเซียนที่มีความคิดเหมือนกัน

                       1)  อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention
               Against Trafficking in Persons, Especially Women and Children: ACTIP) ค.ศ. 2015 ซึ่งนายกรัฐมนตรี

               ไทยร่วมลงนามในการประชุมสุยอดอาเซียนครั้งที่ 27 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และให้สัตยาบัน

               แล้วในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 เป็นประเทศที่สามต่อจากกัมพูชาและสิงคโปร์ จนถึงตอนนี้สนธิสัญญานี้
               มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ปี 2017 และมีเพียงบรูไนที่ยังไม่ให้สัตยาบัน

                       2)  สนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาของประเทศอาเซียนที่มีความคิด

               เหมือนกัน (Treaty on Mutual  Legal Assistance in Criminal Matters among Like-Minded ASEAN
               Member Countries: ASEAN MLAT) ค.ศ. 2004 (ASEAN, 2018b, p. vi) ซึ่งไทยให้สัตยาบันเป็นประเทศ

               สุดท้ายในวันที่ 31 มกราคม 2013 ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือในการด าเนินคดีค้ามนุษย์ในอาเซียน

                       ส่วนที่ไม่เป็นสนธิสัญญามีหลายประเภทตั้งแต่วิสัยทัศน์ ปฏิญญา แผนปฏิบัติการ แผนการด าเนินงาน
               องค์กร แนวปฏิบัติ ฉันทามติ ดังนี้ (ASEAN, 2018b, p. vii ส าหรับกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของแต่ละ

               ประเทศ ดู p. viii)

                       -  วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) ค.ศ. 1997
                       -  ปฏิญญามี 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ (ASEAN Declaration

               on Transnational Crime) ค.ศ. 1997 (2) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรี

               และเด็ก (ASEAN Declaration Against Trafficking in Persons Particularly Women and Children)
               ค.ศ. 2004 และ (3) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ (ASEAN

               Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers) ค.ศ. 2007 โดย

               ปฏิญญาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการค้ามนุษย์โดยตรงนั้น คือ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์




                                                           [59]
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80