Page 72 - kpiebook62002
P. 72
เป็นเงื่อนไขส าคัญในการจัดอันดับการค้ามนุษย์ อีกทั้งเพื่อให้เกิดการสร้างผู้เชี่ยวชาญ การสะสมองค์ความรู้ ซึ่ง
มักขาดความต่อเนื่องจากการโยกย้ายต าแหน่งในระบบราชการ ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องการค้ามนุษย์ได้รับ
แต่งตั้งให้ท าหน้าที่ได้ไม่นานก็มักต้องปรับเปลี่ยนไปท างานในต าแหน่งอื่น (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22
มีนาคม 2562)
แนวคิดการจัดตั้ง “ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์” (ป.ป.ม.) สังกัด
ส านักนายกรัฐมนตรี ได้รับการเสนอขึ้นจากงานวิจัยเชิงคุณภาพของศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อ
ความสุขชุมชน (Thai Researchers in Community Happiness Association: TRICHA) ที่ร่วมกับ นาย
ศรัณย์พงศ์ ฟุ้งเกียรติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล
เพื่อเป็นองค์กรถาวรท างานเชิงยุทธศาสตร์เพื่อค้นหาข้อมูลสถานการณ์การค้ามนุษย์ มีทิศทางการแก้ไขปัญหา
ที่ชัดเจน เป็นระบบ และต่อเนื่อง โดยเฉพาะการช่วยเหลือเหยื่อตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งจะแก้ไขปัญหา
ที่การขาดบูรณาการเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ทั้งในเชิงกฎหมายที่มีมากกว่า 25 ฉบับ และหน่วยงานรัฐ
ที่ถือกฎหมายเหล่านี้ไว้หลายสิบหน่วยงาน ซึ่งจ ากัดสมรรถนะของรัฐบาลไทยในการจัดการปัญหาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ แม้รัฐบาลต่างๆ ที่เข้ามาบริหารได้ออกค าสั่งเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ขึ้นมาบูรณาการ
การแก้ไขปัญหาก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มีความยั่งยืนและเปลี่ยนแปลงตามวาระของรัฐบาล รวมทั้งอาจไม่ได้รับ
ความส าคัญในบางรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ส่งตัวแทนระดับล่างเข้าร่วมปฏิบัติการเท่านั้น อีกทั้งเป็นการ
สร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยเพื่อเป็นผู้น าของอาเซียนในการต่อต้านการค้า
มนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ (ไทยรัฐออนไลน์, 2558)
ตามข้อเสนอนั้น ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์มีโครงสร้าง
ประกอบด้วย (ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ ชมรมนักวิจัยไทยเพื่อความสุขชุมชน, 2558)
1) เลขาธิการ
2) รองเลขาธิการ 3 ต าแหน่ง
3) ที่ปรึกษา 4 ด้าน ได้แก่ การป้องกันค้ามนุษย์ การปราบปรามค้ามนุษย์ กฎหมาย และกิจการ
ต่างประเทศ
4) ผู้อ านวยการส านักหรือเทียบเท่า ซึ่งจัดได้เป็น 6 ประเภท ประกอบด้วย
(1) บริหารงาน ได้แก่ ส านักงานบริหารงานกลาง ส านักกิจการต่างประเทศ ส านักกฎหมาย
ส านักเทคโนโลยีสารสนเทศและการตรวจสอบ ส านักนโยบายและยุทธศาสตร์ กลุ่มตรวจสอบภายใน กลุ่ม
พัฒนาระบบบริหาร
(2) การดูแลผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ได้แก่ ส านักคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพผู้เสียหายจาก
การค้ามนุษย์ และส านักฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
(3) ปฏิบัติการ ได้แก่ ส านักปฏิบัติการตรวจสอบทรัพย์สินและคดีการฟอกเงิน และส านัก
ปฏิบัติการพิเศษและการสืบสวนคดีความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ส านักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
[56]