Page 84 - kpiebook62002
P. 84

การค้ามนุษย์ซึ่งไทยเองเผชิญอยู่จากการเข้ามาของคนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา แล้วไทยเป็น

               ทางผ่านไปสู่ประเทศอื่นอย่างมาเลเซีย หรือไปประเทศนอกภูมิภาคอย่างเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น หรือไปไกลถึงเยอรมนี
               (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)

                        ดังนั้นในส่วนนี้จะน าเสนอเนื้อหาเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ความร่วมมือทวิภาคีของไทยกับประเทศเพื่อน

               บ้านในภูมิภาค ในอีกส่วนเป็นการกล่าวถึงความร่วมมือของไทยกับประเทศนอกภูมิภาคโดยกล่าวถึงใน
               ภาพรวมก่อนจากนั้นจะน าเสนอบางประเทศที่มีบทบาทส าคัญ



                       2.4.1  ความร่วมมือทวิภาคีของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค


                            ความร่วมมือสืบสวนข้ามชาติมีความส าคัญยิ่งต่อการตอบโต้ต่อการค้ามนุษย์ข้ามชาติซึ่งรูปแบบ

               การค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียนนี้มีพลวัตข้ามแดนอย่างมาก ซึ่งต้องการการตอบโต้ในเชิงกระบวนการยุติธรรม
               ทางอาญาต่อการค้ามนุษย์ที่ประสานงานกันในระดับภูมิภาค ความร่วมมือกันเช่นนี้น าไปสู่หลักฐานที่ดีขึ้นจาก

               การมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการรวบรวมหลักฐานด้วยทักษะการสืบส่วนที่ได้รับการปรับปรุง ลดภาระต่อเหยื่อ

               ในเรื่องหลักฐานและการให้การเป็นพยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับคู่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในแบบทวิ
               ภาคีโดยเน้นเส้นทางการค้ามนุษย์ที่ส าคัญระหว่างประเทศต้นทางและปลายทางโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับไทย

               ได้แก่ กัมพูชา-ไทย ลาว-ไทย เมียนมา-ไทย ไทย-มาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีเส้นทางของประเทศอื่นในภูมิภาค

               เช่น อินโดนีเซีย-มาเลเซีย ฟิลิปปินส์-มาเลเซีย เวียดนาม-มาเลเซีย (AAPTIP, 2019)
                       ในระดับหน่วยงาน ส านักงานต ารวจแห่งชาติโดยศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกัน

               ปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้ความส าคัญกับ Partnership ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5Ps ของยุทธศาสตร์ต่อต้านการค้า

               มนุษย์ โดยการเป็นหุ้นส่วนอย่างใกล้ชิดกับมิตรประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในการดูแลผู้เสียหาย
               ชาวต่างชาติ ประสานงานกับสถานทูตเมื่อชาวต่างชาติตกเป็นผู้ต้องหาหรือเสียหาย รัฐบาลไทยมีโครงการ

               ความร่วมมือทวิภาคีกับต ารวจปราบปรามการค้ามนุษย์ของเมียนมาและกัมพูชา จัดการประชุมหารือระดับทวิ

               ภาคีเพื่อแบ่งปันข่าวกรองและปฏิบัติการสืบสวนสอบอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการท างานกับต ารวจ
               เมียนมา (“จับเข่าคุย ‘มือปราบการค้ามนุษย์’,” 2561)

                       โดยรวมแล้วไทยจึงท างานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งเมียนมา กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ในการสืบสวน

               ข้ามชาติและความร่วมมือทางกฎหมายระหว่างกัน เช่น ความร่วมมือข้ามแดนระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ
               และส านักงานต ารวจแห่งชาติของไทย กับกองก าลังต ารวจเมียนมา ต ารวจแห่งชาติกัมพูชา ต ารวจแห่งชาติ

               มาเลเซีย หรือ Anti-Human Trafficking Department ของลาว โดยความร่วมมือกับมาเลเซียนั้นมุ่งเน้นคดีที่

               ด าเนินการอยู่และใช้แนวทางข่าวกรองน า ส่วนกับลาวนั้นมุ่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ข้ามแดนและแบ่งปัน
               ข้อมูล (AAPTIP, 2019) นอกจากนี้ ไทยแสดงบทบาทส าคัญในการพัฒนาความร่วมมือทางกฎหมายและสร้าง

               สมรรถนะในการต่อต้านการค้ามนุษย์ร่วมกัน เช่น ผู้ประสานงานกลางของไทยสนับสนุนทีมผู้ปฏิบัติงานภายใน

               เมียนมาที่ท าหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลางในการปรับปรุงความร่วมมือทางกฎหมายและสร้างสมรรถนะด้วย




                                                           [68]
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89