Page 85 - kpiebook62002
P. 85
การฝึกอบรม การก าหนดต าแหน่งงาน (professional placements) และการพัฒนาวิธีด าเนินการและพิธีการ
ส านักงานอัยการสูงสุดไทยสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาในการร่างกฎหมายให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทาง
กฎหมาย (Mutual Legal Assistance law) ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสมรรถนะผู้ประสานงานกลาง (Central
Authority) ของกัมพูชาเพื่อช่วยเตรียมและตอบสนองค าขอการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (AAPTIP, 2019)
ในระดับรัฐบาล ไทยมีความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ในเรื่องการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนโดยอิงอยู่กับข้อตกลงระหว่างรัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ “บันทึกความ
เข้าใจ” (Memorandum of Understanding: MOU) ทั้งกับกัมพูชาใน ค.ศ. 2003 และปรับปรุงใหม่ใน ค.ศ.
2014 ลาวใน ค.ศ. 2005 เมียนมาใน ค.ศ. 2009 มีเพียงความร่วมมือกับเวียดนามที่เรียกว่า “ความตกลง” ใน
ค.ศ. 2009 แต่สาระส าคัญก็ไม่ได้แตกต่างออกไปจากบันทึกความเข้าใจฉบับอื่นๆ ดังรายการต่อไปนี้
- บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
เรื่องความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2014 (แทน
บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่องความ
ร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและหญิงและการช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2003)
- บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว ว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ค.ศ. 2005
- บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาว่าด้วย
ความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ค.ศ. 2009
- ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีในการขจัดการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก และการช่วยเหลือเหยื่อของการค้า
มนุษย์ ค.ศ. 2009
ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านตามข้อตกลงข้างต้นโดยรวมแล้วมีลักษณะที่ร่วมๆ กัน
อยู่พิจารณาตาม 3Ps (Prosecution Protection Prevention) ในยุทธศาสตร์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้แก่ (ดู
ตารางที่ 2.5)
1. Prosecution (การด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) เป็นด้านที่ได้รับความส าคัญมากที่สุดใน
ข้อตกลง มีทั้งการปรับปรุงกระบวนการหรือความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย ความร่วมมือระหว่าง
หน่วยงานยังคับใช้กฎหมายเพื่อสืบสวนสอบสวนด าเนินคดีกับผู้กระท าความผิดฐานค้ามนุษย์อย่างจริงจัง การ
จัดโครงการฝึกอบรมทางกฎหมายและทักษะในการสืบสวนสอบสวนเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการบังคับใช้
กฎหมายแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งบ้างก็เน้นเรื่องสิทธิของผู้หญิงและเด็กด้วย รวมทั้งฝึกอบรม
แก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งคณะท างานร่วมจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การประสานความ
ร่วมมือด้านกระบวนการทางศาลรวมถึงหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง การให้ความช่วยเหลือระหว่างกันทาง
กฎหมาย การจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับคดีการค้ามนุษย์
[69]