Page 90 - kpiebook62002
P. 90
สิ้น โดยวางเป้าหมายจัดท าบันทึกความเข้าใจฉบับใหม่แทนบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหภาพเมียนมาว่าด้วยความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรี
และเด็ก ค.ศ. 2009 โดยบันทึกความเข้าใจใหม่นี้โดยจะมีสาระส าคัญแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การป้องกัน
การคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ความร่วมมือในการปราบปรามการค้ามนุษย์ การส่งกลับ และการคืน
สู่สังคม เพื่อให้ความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
ของทั้งสองประเทศ (“ไทย-เมียนมาร์ ประชุมทบทวน,” 2561) ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12
กุมภาพันธ์ 2019 เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยระบุว่า ไทยจะเป็น
เจ้าภาพในการจัดพิธีลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ภายในเดือนดังกล่าว โดยมอบอ านาจเต็มให้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นผู้ลงนาม
ส่วนในด้านการจ้างแรงงาน ไทยและเมียนมามีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้าง
แรงงาน ค.ศ. 2003 ซึ่งถือเป็นกลไกส าคัญในการจัดการแรงงานเมียนมาให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการ
ก าหนดกรอบเวลาที่ได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าวเป็นระยะเวลา 2 ปีหรืออาจขยายเวลาการจ้างงาน
ออกไปได้อีก 2 ปีแต่ไม่เกิน 4 ปี และเมื่อครบ 4 ปีแล้ว แรงงานต่างด้าวไม่สามารถสมัครงานใหม่ได้จนกว่าเวลา
จะผ่านพ้นไปแล้ว 3 ปี ก าหนดรายได้เข้ากองทุนการส่งกลับร้อยละ 15 ของเงินเดือนซึ่งคืนให้เมื่อเดินทางกลับ
ภูมิล าเนาของตน ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 ไทยและเมียนมาจัดตั้งศูนย์หนังสือผ่านแดนชั่วคราว
(Temporary Visa Centre) ใกล้อ าเภอแม่สอดและเมืองเมียวดีของเมียนมา เพื่อออกหนังสือผ่านแดนให้ผู้ย้าย
ถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง ทว่าชาวเมียนมาที่ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ไม่กล้าเข้าไปใช้บริการในศูนย์เพราะกลัวการ
ตรวจสอบจากรัฐบาลเมียนมาซึ่งจะส่งผลกระทบถึงครอบครัวของตน (ศิบดี นพประเสริฐ และ สุทธิพงศ์ วรอุไร,
2559)
ความร่วมมือของไทยกับประเทศนอกภูมิภาค
ในระดับหน่วยงาน ส านักงานต ารวจแห่งชาติโดยศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกัน
ปราบปรามการค้ามนุษย์ ให้ความส าคัญกับ Partnership ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5Ps ของยุทธศาสตร์ต่อต้านการค้า
มนุษย์ โดยการเป็นหุ้นส่วนอย่างใกล้ชิดกับมิตรประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในการดูแลผู้เสียหาย
ชาวต่างชาติ ประสานงานกับสถานทูตเมื่อชาวต่างชาติตกเป็นผู้ต้องหาหรือเสียหาย โดยเฉพาะในรูปแบบ
ท างานร่วมกับผู้ช่วยต ารวจของแต่ละประเทศประจ าประเทศไทย โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
อังกฤษ แคนาดา หรือท างานกับต ารวจมิตรประเทศที่ชาวไทยตกเป็นเหยื่อในต่างประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น
บาห์เรน โอมาน เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังคงต้องแก้ไขข้อขัดข้องในการแบ่งปันข้อมูลส าหรับการ
ด าเนินคดีด้วยการเดินทางเยือนเพื่อเจรจาหารือแนวทางกระชับความร่วมมือในเรื่องนี้ให้มากขึ้น (“จับเข่าคุย
‘มือปราบการค้ามนุษย์’,” 2561)
[74]