Page 91 - kpiebook62002
P. 91

ในระดับรัฐบาล ไทยมีความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศต่างๆ นอกภูมิภาคในเรื่องการค้ามนุษย์ทั้งกับ

               ญี่ปุ่น จีน อิสราเอล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สวีเดน และออสเตรเลีย โดยมักเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลซึ่งส่วน
               ใหญ่อยู่ในรูปแบบ “บันทึกความเข้าใจ” (Memorandum of Understanding: MOU) นอกจากนี้ยังอยู่ใน

               ข้อตกลงที่มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น บันทึกความร่วมมือ ความตกลง ข้อตกลงเสริม ดังรายการต่อไปนี้ (กรมองค์การ

               ระหว่างประเทศ, 2558; รัฐบาลไทย, 2561ค)
                       -  บันทึกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่นว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข่าวสารส าหรับการป้องกัน

               และต่อต้านการค้ามนุษย์

                       -  บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
               ว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2018

                       -  บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ระหว่างรัฐบาลไทย

               และรัฐบาลอิสราเอล
                       -  บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่า

               ด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์

                       -  ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรสวีเดนว่าด้วยความ
               ร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายในการต่อต้านอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร การลักลอบการค้ายา

               เสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและสารตั้งต้น การค้ามนุษย์ การก่อการร้ายและอาชญากรรมร้ายแรง

               อื่นๆ ค.ศ. 2013
                       -  ข้อตกลงเสริมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลียว่าด้วยโครงการความร่วมมือ

               อาเซียน-ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2018

                       บันทึกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่นว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข่าวสารส าหรับการป้องกัน
               และต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศนอกภูมิภาคที่ส าคัญของอาเซียน

               ในการแลกเปลี่ยนข่าวสารในคดีค้ามนุษย์ตามยุทธศาสตร์การต่อต้านการค้ามนุษย์ในด้าน Prosecution (การ

               ด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนผู้ต้องสงสัย ขยายผลการจับกุมและ
               ด าเนินคดีผู้กระท าความผิดทั้งในไทยและญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ไปจนถึงการสนับสนุนความร่วมมือทาง

               กฎหมายระหว่างสองประเทศ (กรมองค์การระหว่างประเทศ, 2558)

                       ส่วนบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชน
               จีนว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2018 เป็นตัวอย่างข้อตกลงล่าสุด

               ของไทยกับประเทศที่มีบทบาทหลักและเกี่ยวพันกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมากโดยเฉพาะใน

               เรื่องการค้ามนุษย์ บันทึกความเข้าใจนี้ครอบคลุมความร่วมมือ 3Ps (Prosecution Protection Prevention)
               ซึ่งถือเป็นแกนการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์การต่อต้านการค้ามนุษย์ ได้แก่ การสืบสวนสอบสวนและการ

               ด าเนินคดี การป้องกัน การคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เสียหาย โดยค านึงถึงสิทธิมนุษยชนและ

               ผลประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหาย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนและเป็น




                                                           [75]
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96