Page 92 - kpiebook62002
P. 92
รูปธรรมมากยิ่งขึ้น (รัฐบาลไทย, 2561ค) ข้อตกลงนี้เกิดขึ้นจากการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุ
ภูมิภาคแม่น้ าโขงเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (COMMIT) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการปรึกษาหารือระดับ
ภูมิภาค (RCP)
ตะวันออกกลางถือเป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีคนไทยไปท างานและอาจตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ได้ ไทยจึงมี
ข้อตกลงกับอิสราเอลในการจ้างแรงงานซึ่งมีชื่อเต็มว่า “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความ
ร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอิสราเอล” เพื่อลดความเสี่ยงของการค้ามนุษย์
ในภาคแรงงาน โดยเฝ้าระวังการแสวงผลประโยชน์โดยมิชอบจากการผลักดันแรงงานอพยพไปท างานใน
ประเทศปลายทาง (กรมองค์การระหว่างประเทศ, 2558) รวมทั้ง “บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้า
มนุษย์” ด้วยความตระหนักการค้ามนุษย์ที่มีเพิ่มมากขึ้นซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคงระหว่างประเทศ
และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งสองประเทศมุ่งใช้มาตรการต่างๆ ทั้งในเชิง Prosecution (การ
ด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) เพื่อต่อต้านอาชญากรรมการค้ามนุษย์และบังคับโทษต่อผู้กระท าความผิด
และในเชิง Protection (การคุ้มครอง) จัดให้มีการคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และให้มีการช่วยเหลือ
กลับคืนถิ่นอย่างปลอดภัย
ในขณะที่ความตกลงระหว่างไทยกับประเทศยุโรปอย่างสวีเดนใน ค.ศ. 2013 ครอบคลุมกว้างขวาง
กว่าการจ ากัดเฉพาะเรื่องการค้ามนุษย์ โดยเป็นความตกลงความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายในการ
ต่อต้านอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ไปจนถึงการลักลอบการค้ายาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและ
ประสาทและสารตั้งต้น และยังครอบคลุมเรื่องการค้ามนุษย์ การก่อการร้ายและอาชญากรรมร้ายแรงอื่นๆ
ส่วนในเรื่องการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) สหภาพยุโรปมีส่วน
ท าให้เกิดการด าเนินการการปรับปรุงพระราชก าหนดการบริหารจัดการการท างานของคนต่างด้าว การเข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญาต่างๆ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เช่น ฉบับที่ 29 ว่าด้วยการเกณฑ์แรงงานหรือ
แรงงานบังคับ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการท างานภาคการประมง ฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วม
เจรจาต่อรอง มีการวางระบบตรวจสอบแรงงานที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (Port In - Port Out: PIPO
Control Center) อย่างชัดเจน (รัฐบาลไทย, 2561ก)
ออสเตรเลียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศคู่เจรจาส าคัญของอาเซียน มีบทบาทอย่างต่อเนื่องและแข็งขันใน
การสนับสนุนและร่วมมือกับไทยในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับภูมิภาคเป็นเวลากว่า 15 ปี ใน 4 โครงการ
ได้แก่ โครงการความร่วมมือภูมิภาคเอเชียเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์ (Asia Regional Cooperation to
Prevent People Trafficking: ARCPPT) ค.ศ. 2003–2006 โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งภูมิภาคเอเชีย
(Asia Regional Trafficking in Persons Program: ARTIP) ค.ศ. 2006–2012 โครงการออสเตรเลีย-เอเชีย
เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (Australia-Asia Program to Combat Trafficking in Persons Program:
AAPTIP) ค.ศ. 2013–2018 ขณะนี้ไทยกับออสเตรียเลยเริ่มต้นโครงการความร่วมมือใหม่ที่เรียกว่า “โครงการ
อาเซียน-ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์” (ASEAN-Australian Counter Trafficking: ASEAN-ACT)
[76]