Page 95 - kpiebook62002
P. 95

คดีการค้ามนุษย์ (3) ประสิทธิภาพของศาลและอัยการในการสั่งฟ้องคดี และ (4) การคุ้มครองและการระบุตัว

               เหยื่อการค้ามนุษย์


                       1.  กฎหมายป้องกันการค้ามนุษย์

                          อินโดนีเซียมีกฎหมายว่าด้วยการขจัดการกระท าความผิดอาญาในเรื่องการค้ามนุษย์ (Law on
               the Eradication of the Criminal Act of Trafficking in Persons, No. 21/2007) ค.ศ. 2007 ในเรื่อง

               องค์ประกอบความผิดทางกฎหมายนั้นพบว่าไทยและอินโดนีเซียมีความคล้ายคลึงกันโดยมองเรื่อง “การค้า

               ทาส” เป็นความผิดทางกฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากฟิลิปปินส์ที่ไม่ได้ระบุในส่วนนี้ไว้ นอกจากนี้ส่วนที่คล้ายคลึง
               กับประเทศไทย คือ อินโดนีเซียมีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมการฟอกเงินในคดีการค้ามนุษย์ซึ่ง

               อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) ก าหนดให้สมาชิกด าเนินคดี

               กับกระบวนการฟอกเงินที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติ โดยอินโดนีเซียระบุไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ
               ป้องกันและขจัดการฟอกเงิน (Law on the Prevention and Eradication of Money Laundering, No.

               8/2010) ค.ศ. 2010 มาตรา 2 อนุมาตรา 1 ทว่าในกรณีการจัดการเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นเด็กนั้นกฎหมายว่า

               ด้วยการคุ้มครองเด็กของอินโดนีเซีย (Law on Child Protection, No. 23/2002) ค.ศ. 2002 ให้การ
               สนับสนุนและคุ้มครองเหยื่อโดยค านึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กโดยเฉพาะในกระบวนการทางกฎหมาย

               เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ (ASEAN. 2018b, p. 19)

                       ในส่วนกฎหมายเกี่ยวกับเด็กของอินโดนีเซียมีตัวอย่างให้เห็นถึงความจริงจังในการบังคับใช้กฎหมาย
               จากกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐ 2 รายเข้าไปพัวพันกับกรณีดังกล่าวในลักษณะการค้าประเวณีออนไลน์ซึ่งโดนพิพากษา

               จ าคุกเป็นเวลา 4 ปีตามกฎหมายว่าด้วยการขจัดการกระท าความผิดอาญาในเรื่องการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2007

               นอกจากนี้ได้มีการลงโทษจ าคุก 15 ปีชายชาวออสเตรเลียที่เข้ามาเที่ยวค้าประเวณีเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการ
               คุ้มครองเด็กของอินโดนีเซีย ค.ศ. 2002 (อรพรรณ แซ่เอี้ยว, 2561ก, น. 5) เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วกฎหมาย

               ของประเทศไทยไม่ได้ให้ความคุ้มครองพิเศษในส่วนว่าด้วยเด็ก มีเพียงระบุไว้ในกฎหมายอาญาและ

               พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่ให้ความคุ้มครองและเก็บความลับระหว่างการระบุตัวเหยื่อใน
               ขั้นตอนการพิจารณาคดีดังนั้นไทยอาจเพิ่มกฎหมายเฉพาะในเรื่องเหยื่อการค้ามนุษย์ที่เป็นเด็กเพื่อแสดงให้เห็น

               ถึงการยกระดับการท างานให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้นโดยเฉพาะตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989


                       2.  การใช้ผู้เชี่ยวชาญในการสืบสวนคดีการค้ามนุษย์

                          ทุกวันนี้เป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างว่าปัญหาการค้ามนุษย์จ าเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาท างานใน

               ส่วนการระบุตัวเหยื่อและการสืบสวนสอบสวน ประเทศไทยมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในกรณีการค้ามนุษย์อยู่ใน
               กรุงเทพฯ เพื่อรับรายงานและเรื่องคดีต่างๆ เข้ามาจากส่วนภูมิภาคและจังหวัด ในส่วนคดีนั้นมีรายละเอียดเชิง

               ลึก เช่น การรวบรวมหลักฐานหรือการสืบสวนท าส านวนซึ่งเป็นส่วนที่มีความส าคัญมาก โดยงานส่วนนี้ของไทย

               มักด าเนินการโดยหน่วยงานหรือส่วนราชการที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ส่วนหน่วยงานที่เชี่ยวชาญนั้นก็ไม่ได้




                                                           [79]
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100