Page 96 - kpiebook62002
P. 96
เข้าไปให้ค าแนะน าหรือชี้แนะวิธีการ (ASEAN, 2018b, 48) ในขณะที่ประเทศอินโดนีเซียจัดตั้งหน่วยงานกลาง
พร้อมด้วยหน่วยงานสนับสนุนซึ่งมีหน่วยที่ท างานด้านผู้หญิงและเด็ก ในส่วนภูมิภาคซึ่งโครงสร้างในลักษณะนี้มี
ความได้เปรียบในการท างานเพราะผู้เชี่ยวชาญเข้าถึงและตรวจสอบปัญหาในพื้นที่ได้
3. ประสิทธิภาพของศาลและอัยการในการสั่งฟ้องคดี
แนวการปฏิบัติในระดับนานาชาติรวมถึงประสบการณ์ของรัฐสมาชิอาเซียนได้พิสูจน์แล้วว่ามี
ความจ าเป็นที่ผู้พิพากษาและอัยการต้องรับการอบรมแบบพิเศษเพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จ าเป็นในการท า
หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถูกระบุไว้ใน “แนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงานของอาเซียน” (ASEAN
Practitioner Guidelines) (ASEAN, 2018a)
อินโดนีเซียมีหลักปฏิบัติที่ให้พนักงานสอบสวนและฝ่ายพนักงานอัยการท างานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
โดยพนักงานสอบสวนสามารถติดต่อหรือขอค าปรึกษาจากพนักงานอัยการในเรื่องคดีในส่วนรูปแบบของ
หลักฐานที่ต้องรวบรวม และมาตราในกฎหมายการค้ามนุษย์ที่ควรน าไปปรับใช้ หลายปีที่ผ่านมาจากการ
ท างานร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะในช่วงต้นของการสอบสวนคดีการค้ามนุษย์นั้น ส่งผลให้มีการรับ
ฟ้องคดีเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก (ASEAN, 2018b, p. 97) จึงท าให้ในปี 2016 พนักงานสอบสวนด าเนินการส่ง
ส านวนเพื่อฟ้องร้องคดีด้านการค้ามนุษย์กว่า 59 คดีและมีการตัดสินลงโทษกว่า 30 คดีซึ่งมีผู้กระท าความผิดมี
จ านวนมากถึง 256 ราย โดยคดีการค้ามนุษย์นี้มีโทษจ าคุกสูงสุดถึง 7 ปี ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน กระทรวง
การต่างประเทศของอินโดนีเซียยังจัดอบรมกฎหมายว่าด้วยการขจัดการกระท าความผิดอาญาในเรื่องการค้า
มนุษย์ ค.ศ. 2007 ให้กับพนักงานอัยการ 25 คน ใน 3 จังหวัด นอกจากนี้หน่วยต่อต้านการค้ามนุษย์ได้รับ
ค าสั่งจากประธานาธิบดีให้เข้าร่วมการสืบสวนในกรณีแรงงานต่างชาติจากจังหวัดนุสาเตงการาตะวันออก ถูก
บังคับจนต้องจบชีวิตตนเองและสามารถสืบสวนจนจับผู้ต้องสงสัยได้ 16 ราย (อรพรรณ แซ่เอี้ยว, 2561ก, น.
5) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการท างานร่วมกันของหน่วยงานการค้ามนุษย์
ในขณะที่ประเทศไทยในส่วนข้อบังคับในปี 2009 นั้นอนุญาตให้พนักงานอัยการเข้าร่วมรับฟังระหว่าง
การสอบสวนในกรณีที่เกี่ยวกับประเด็นข้ามชาติต่างๆ ซึ่งในที่นี้รวมถึงกรณีการค้ามนุษย์ด้วย ทว่าในทางปฏิบัติ
พบว่ามักไม่ใช้ขั้นตอนการร่วมรับ เนื่องจากกระบวนการมอบหมายงานให้กับพนักงานอัยการนั้นใช้เวลานาน
กว่าจะได้รับการแต่งตั้งเพื่อเข้าร่วมรับฟังนั้นการสอบสวนก็ลุล่วงไปแล้ว (ASEAN. 2018b, p. 98)
4. การคุ้มครองและการระบุตัวเหยื่อการค้ามนุษย์
อินโดนีเซียมีการคุ้มครองพยานและเหยื่อตามกฎหมายว่าด้วยการขจัดการกระท าความผิดอาญา
ในเรื่องการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2007 และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานและเหยื่อ (Law on Protection of
Witness and Victim, No. 13/2006) ค.ศ. 2006 โดยกฎหมายดังกล่าวครอบคลุมทั้งการคุ้มครองโดยค านึงถึง
เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความปลอดภัย การไม่เลือกปฏิบัติและความเที่ยงตรงของกฎหมาย นอกจากนี้ยัง
[80]