Page 94 - kpiebook62002
P. 94

ในเรื่องการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กเพื่อการค้าซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการค้ามนุษย์ที่

               กลายเป็นปัญหาแพร่ระบาดไปทั่วโลกและเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในยุค Thailand 4.0 นั้น สหรัฐอเมริกา
               มีบทบาทหลักในการช่วยพัฒนาระบบงานเพื่อจัดการปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบใหม่ดังกล่าว ด้วยการส่ง

               ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากหน่วยสืบสวนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Homeland Security Investigations:

               HSI) และส านักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation: FBI) ประจ าสถานทูตสหรัฐอเมริกาที่
               กรุงเทพฯ จัดตั้งคณะท างานปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศเด็กต่ออินเทอร์เน็ต (Thailand Internet

               Crimes Against Children Task Force: TICAC) ส านักงานต ารวจแห่งชาติ และร่วมกับโครงการออสเตรเลีย-

               เอเชีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (AAPTIP) พัฒนาระบบงานสืบสวนสอบสวนและแนวทางการบริหารจัดการคดี
               ค้ามนุษย์ ไปจนถึงความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน ในเดือนกันยายน 2561 ส านักงานสอบสวนกลาง

               (FBI) ของสหรัฐฯ ร่วมกับส านักงานต ารวจแห่งชาติสนับสนุนการฝึกอบรมเทคนิคการสืบสวนปราบปรามการ

               ล่วงละเมิดเด็กทางเพศให้กับต ารวจจากประเทศเพื่อนบ้าน 7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม
               ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย โดยใช้คดีตัวอย่างและต ารวจไทยร่วมเป็นวิทยากรและครูฝึก ส่วน

               หน่วยสืบสวนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Homeland Security Investigations: HSI) ร่วมกับ

               TICAC จัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ต ารวจอินโดนีเซียเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดตั้งหน่วยปราบปราม
               การล่วงละเมิดเด็กทางเพศบนสังคมออนไลน์โดยไทยเป็นต้นแบบในการคัดแยกเหยื่อจากการค้ามนุษย์ (“จับ

               เข่าคุย ‘มือปราบการค้ามนุษย์’,” 2561)

                       โดยรวมแล้วไทยมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนและ
               ประเทศส าคัญนอกภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เพราะประชาคมระหว่างประเทศให้ความส าคัญกับ

               การค้ามนุษย์อย่างยิ่ง ความร่วมมือระหว่างประเทศเหล่านี้มีส่วนอย่างส าคัญในการผลักดันให้การแก้ไขปัญหา

               การค้ามนุษย์ในไทยเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม และได้รับการเสริมสมรรถนะจากความร่วมมือกับประเทศนอก
               ภูมิภาค ในขณะเดียวกันไทยก็มาช่วยพัฒนาสมรรถนะของประเทศเพื่อนบ้านให้การแก้ไขเป็นไปอย่างมี

               ประสิทธิภาพมากขึ้น


               2.5 แนวปฏิบัติจากต่างประเทศ



                       อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่น่าจะถือเป็นตัวอย่างของความพยายามปรับตัวบท
               กฎหมายและแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังเพื่อยกอันดับในรายงานการค้ามนุษย์ (TIP

               Report) ขึ้น ความน่าสนใจประการหนึ่ง คือ การที่อินโดนีเซียรักษาระดับอยู่ในกลุ่มที่ 2 คงที่ได้เป็นเวลาหลาย

               ปีในขณะที่เผชิญกับปัญหาการค้ามนุษย์ที่มีการน าคนเข้าออกประเทศเช่นเดียวกับไทย การถอดบทเรียนจาก
               แนวปฏิบัติของอินโดนีเซียนี้มีหลายส่วนที่น ามาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยเพื่อปรับอันดับการค้ามนุษย์ของไทย

               ให้ดีขึ้นหรืออย่างน้อยที่สุดก็คงที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 โดยไม่ลดระดับลงมา แนวปฏิบัติของอินโดนีเซียที่ควรพิจารณา

               น ามาประยุกต์กับไทยใน 4 เรื่อง ได้แก่ (1) กฎหมายป้องกันการค้ามนุษย์ (2) การใช้ผู้เชี่ยวชาญในการสืบสวน




                                                           [78]
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99