Page 97 - kpiebook62002
P. 97
มีการจัดตั้งหน่วยคุ้มครองพยานของรัฐบาล (Government’s Protection Unit) ขึ้นมาปกป้องเหยื่อจาก
การค้ามนุษย์ด้วย (อรพรรณ แซ่เอี้ยว, 2561ก, น. 6)
ส่วนกระบวนการระบุตัวเหยื่อจากการค้ามนุษย์ของอินโดนีเซียนั้นด าเนินการด้วยการสัมภาษณ์โดย
เจ้าหน้าที่ต ารวจ นักสังคมสงเคราะห์ องค์การนอกภาครัฐ รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเมืองจาก 24 สถานทูตและ
สถานกงสุล เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ นอกจากนี้ยังต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมเพื่อให้แน่ใจ
ว่าสามารถระบุตัวเหยื่อได้อย่างเที่ยงตรงและไม่สร้างความเสียหายกับเหยื่อมากขึ้น โดยพัฒนาเป็นคู่มืออย่าง
ละเอียดเพื่อช่วยในกระบวนการระบุตัวดังกล่าว (ASEAN, 2018b, p. 126) รัฐบาลอินโดนีเซียอนุมัติ
งบประมาณกว่า 240,368 ดอลลาร์สหรัฐสนับสนุนการท างานและค้นหาเหยื่อร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ
ทั้งนี้รัฐบาลยังจัดที่พักพิงให้ในระยะสั้นก่อนด าเนินการส่งกลับหรือส่งให้หน่วยงานรับผิดชอบในระดับท้องถิ่น
ด าเนินการต่อ โดยในปี 2016 รัฐบาลอินโดนีเซียสามารถคัดกรองและให้ความช่วยเหลือเหยื่อเป็นจ านวนมาก
ถึง 336 ราย ในที่นี้เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์จากการประมงจ านวน 156 ราย กระทรวงการต่างประเทศของ
อินโดนีเซียระบุตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ได้ 602 ราย และด าเนินการช่วยเหลือเป็นจ านวนทั้งสิ้น 460 ราย รวมไป
ถึงให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางการทูตและกงสุลในต่างแดนกับเหยื่อกว่า 478 รายซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปี
2015 นับว่ามีพัฒนาการในทางบวกอย่างมาก (อรพรรณ แซ่เอี้ยว, 2561ก, น. 7)
นอกจากนี้รัฐบาลอินโดนีเซียยังมีความพยายามเชิงรุกที่จะพัฒนากลไกใหม่ๆ ในการน าเทคโนโลยีเข้า
มาแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เช่น การเปิดตัวแอปพลิเคชันบนมือถือที่เรียกขอความช่วยเหลือฉุกเฉินซึ่งเชื่อมต่อ
โดยตรงกับสายด่วนของกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียระหว่างการท างานในต่างแดน แอปพลิเคชันนี้
เป็นผลงานที่รัฐบาลท าร่วมกับภาคประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม และกลุ่มผู้สนับสนุนแรงงานอพยพ (อร
พรรณ แซ่เอี้ยว, 2561ก, น. 8)
ในเรื่องการระบุตัวเหยื่อ ประเทศไทยใช้การด าเนินการตามข้อตกลงร่วมที่มีกับประเทศเพื่อนบ้าน
อย่างลาวโดยด าเนินการระบุตัวเหยื่อร่วมกัน เนื่องจากลาวมักเป็นประเทศต้นทางของเหยื่อการค้ามนุษย์ เหยื่อ
จากคดีค้ามนุษย์จะได้รับการดูแลคุ้มครองในช่วงการไต่สวนและไม่มีการส่งกลับประเทศต้นทางจนกว่าจะเสร็จ
สิ้นกระบวนการทางกฎหมาย (ASEAN, 2018b, p. 126)
ความพยายามปรับปรุงตัวบทกฎหมายเพื่อป้องกันการค้ามนุษย์และการคุ้มครองพยาน รวมถึงการ
จัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญในการสอบสวนคดีการค้ามนุษย์ในทั้งระดับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งผลให้การท างาน
เพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของรัฐบาลอินโดนีเซียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การท างานที่สอด
ประสานระหว่างเจ้าหน้าที่สอบสวนและฝ่ายอัยการเองก็เป็นหนึ่งในตัวผลักดันที่ท าให้การสั่งฟ้องคดีการค้า
มนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากรัฐบาลอินโดนีเซียแสดงถึงความพยายามแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังแล้ว ยัง
ท างานเชิงรุกกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อลดการตกเป็นเหยื่อของแรงงานชาวอินโดนีเซียด้วยเทคโนโลยี ทั้งหมดนี้จึง
เป็นตัวอย่างแนวทางที่ช่วยให้อินโดนีเซียรักษาอันดับการค้ามนุษย์ให้คงที่อยู่ในกลุ่มที่ 2 มาได้หลายปี รัฐบาล
ไทยน่าจะถอดบทเรียนดังที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น เพื่อมาพัฒนาและปรับปรุงกลไกการแก้ไขปัญหาการค้า
มนุษย์ในระดับชาติและระดับท้องถิ่นของประเทศเราเองเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป
[81]