Page 98 - kpiebook62002
P. 98
2.6 สรุปและข้อเสนอแนะ
ในเรื่องการค้ามนุษย์ ประเทศไทยประสบความส าเร็จในการพลิก “ปัญหา” ให้กลายเป็น “โอกาส”
ในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเป็นระบบ โดยในช่วงปี ค.ศ. 2014–2015 ที่ถือเป็นช่วงที่ไทยอยู่ในวิกฤตของ
ปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งจากปัญหาการค้ามนุษย์ที่สั่งสมมาในช่วงหลายปี ปัญหาการใช้แรงงานประมงผิด
กฎหมาย การค้ามนุษย์ในกรณีชาวโรฮิงญา การขาดความเข้าใจต่อมาตรฐานขั้นต่ าตามกฎหมายคุ้มครองผู้ตก
เป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์และความรุนแรง (TVPA) ในรายงานการค้ามนุษย์ของกระทรวงการต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกา ไปจนถึงปัญหาการค้าประเวณี การใช้แรงงานเด็กและผู้หญิงที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์ ที่ยังคงมีอยู่
ในปัจจุบัน
จากปัญหาดังกล่าวประเทศไทยจึงได้หันมาให้ความส าคัญกับประเด็นระดับโลกอย่างการค้ามนุษย์
อย่างจริงจังด้วยการประกาศเป็นวาระแห่งชาติ และใช้ยุทธศาสตร์ 5Ps ประกอบด้วย Policy (นโยบาย)
Prosecution (การด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) Protection (การคุ้มครอง) Prevention (การป้องกัน)
และ Partnership (ความร่วมมือ) เป็นกรอบในการพัฒนากลไก ในเชิงนโยบายไทยมีคณะขับเคลื่อนการท างาน
ในเชิงนโยบายระดับชาติทีเรียกว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปคม.)
และคณะกรรมการประสานและก ากับการด าเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ
ปกค.) มีหน่วยงานเฉพาะในหน่วยงานหลักสอย่างส านักงานต ารวจแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์ ในการด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย การคุ้มครอง และการป้องกัน อีกทั้งมีกฎหมาย
รองรับอย่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 แม้จะมีกลไกที่เฉพาะเจาะจงมาก
ขึ้น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็น “งานเฉพาะกิจ” ตาม “วาระแห่งชาติ” ของรัฐบาลปัจจุบัน มากกว่าจะมีความยั่งยืน
จึงเกิดแนวคิดการจัดตั้ง “ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์” (ป.ป.ม.) สังกัดส านัก
นายกรัฐมนตรี ขึ้น
ส่วนความร่วมมือของอาเซียนซึ่งไทยเป็นส่วนหนึ่งมีกลไกการประชุมและเครื่องมือที่เพียบพร้อมอยู่
แล้วทั้งที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ หรือกลไกหลักอย่างที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่า
ด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP)
ค.ศ. 2015 แผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ค.ศ. 2015 แนว
ปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงานของอาเซียน และรายงานความก้าวหน้าในการด าเนินกระบวนการยุติธรรมทาง
อาญาเพื่อตอบโต้การค้ามนุษย์ ค.ศ. 2018 ซึ่งน ามาใช้เป็นกรอบการท างานหลักในภูมิภาคได้ นอกจากนี้ยังมี
กรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนที่เรียกว่า “กระบวนการปรึกษาหารือระดับภูมิภาค” (RCP)
ด าเนินงานควบคู่ไปกับการท างานเชิงสถาบันในกรอบอาเซียน ทั้งการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในอนุ
ภูมิภาคแม่น้ าโขงเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (COMMIT) และกระบวนการบาหลี (Bali Process) ที่ไทยร่วมมือ
กับหลากหลายประเทศทั้งในระดับอนุภูมิภาคไปจนถึงทั้งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
[82]