Page 93 - kpiebook62002
P. 93

ค.ศ. 2019-2028 ซึ่งมีระยะเวลาด าเนินโครงการยาวนานถึง 10 ปีมากกว่าโครงการก่อนหน้า ในสมาชิก

               อาเซียน 7 รัฐ ได้แก่ ไทย เมียนมา กัมพูชา ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
                       โครงการ ASEAN-ACT ก าหนดวัตถุประสงค์ไว้ 2 ด้าน ด้านหนึ่ง คือ การลดเหตุจูงใจและโอกาสใน

               การค้ามนุษย์ทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค อีกด้านหนึ่ง คือ เน้นในด้าน Prosecution (การ

               ด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการบังคับใช้กฎหมายและ
               กระบวนการยุติธรรมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มศักยภาพของ

               เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไทยในการสืบสวนสอบสวน ด าเนินคดี และพิจารณาคดีการค้ามนุษย์

                       กระทรวงยุติธรรมของไทยท าหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน (Coordinating Authority) ในการบริหาร
               จัดการและประสานงานเพื่อสนับสนุนการด าเนินการและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ตลอดจน

               สนับสนุนและอ านวยการเพื่อการรับรองการทบทวนโครงการและแผนการด าเนินงานประจ าปีของฝ่ายไทย

               โดยไทยถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ลงนามข้อตกลงโครงการนี้โดยเรียกว่า “ข้อตกลงเสริมระหว่างรัฐบาล
               ไทยกับรัฐบาลเครือรัฐออสเตรเลียว่าด้วยโครงการความร่วมมืออาเซียน–ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการค้า

               มนุษย์” (Subsidiary Arrangement between the Government of the Kingdom of Thailand and

               the Government of Australia relating to the ASEAN-Australia Counter-Trafficking (“ASEAN-ACT”)
               Program) (กรมประชาสัมพันธ์, ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน, 2561)

                       ผลลัพธ์ที่ส าคัญของความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรเลียในโครงการความร่วมมือเหล่านี้ ได้แก่

               “แนวปฏิบัติส าหรับผู้ปฏิบัติงานของอาเซียน ปี 2018” (ASEAN Practitioner Guidelines 2018) ซึ่งปรับปรุง
               จากฉบับแรกในปี 2007 (ASEAN, 2018a) และ “รายงานความก้าวหน้าว่าด้วยการตอบสนองในกระบวนการ

               ยุติธรรมทางอาญาต่อการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียน” (Progress Report on Criminal Justice Reponses

               to Trafficking in persons in the ASEAN Region) ซึ่งปัจจุบันเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 จัดท าโดยโครงการ
               ออสเตรเลีย-เอเชีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (AAPTIP) และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ

               และการค้าออสเตรเลีย ซึ่งปรับปรุงจากรายงานฉบับแรกในปี 2011 ซึ่งจัดเตรียมขึ้นด้วยการสนับสนุนของ

               โครงการต่อต้านการค้ามนุษย์แห่งภูมิภาคเอเชีย (ARTIP) ที่รัฐบาลออสเตรเลียให้การสนับสนุนทางการเงิน
               (ASEAN, 2018b)

                       โครงการความร่วมมือใหม่ที่เรียกว่า “โครงการอาเซียน-ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์”

               (ASEAN-ACT) ที่เริ่มในปี 2019 เป็นระยะเวลา 10 ปีไปจนถึงปี 2028 นั้น รัฐบาลออสเตรเลียโดยกระทรวง
               การต่างประเทศและการค้า ให้เงินสนับสนุนโครงการไว้มากถึง 80 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงิน

               ประมาณ 1,700 ล้านบาท ตกปีละประมาณ 170 ล้านบาท ประเทศไทยใช้โอกาสการเป็นประธานอาเซียนในปี

               2019 ขับเคลื่อนความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์กับออสเตรเลียอย่างจริงจัง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้อง
               ให้ฟิลิปปินส์เข้ามาร่วมมีบทบาทด้วย เพราะฟิลิปปินส์ท าหน้าที่เป็นเป็นประเทศ “ผู้น าโดยสมัครใจ”

               (Voluntary Lead Shepherds) ในเรื่องการค้ามนุษย์ในที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ

               (SOMTC) (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)




                                                           [77]
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98