Page 61 - kpiebook62002
P. 61

ปัญหาการค้ามนุษย์ การสร้างงานในท้องถิ่น โครงการฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มโอกาสในการท างาน (ศิบดี นพ

               ประเสริฐ, 2558, น. 33–34)
                              ในเรื่อง Prosecution (การด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) มีหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นกลไก

               หลักในปฏิบัติงาน ได้แก่ ส านักงานต ารวจแห่งชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์

               (บก.ปคม.) (Anti-Trafficking in Persons Division: ATPD) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง และศูนย์พิทักษ์
               เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ (ศพดส.ตร.) นอกจากนี้ยังมีส านักงานอัยการสูงสุด

               ศาลยุติธรรม ส านักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและ

               ปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
                              กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยเฉพาะส านักงานส านักงาน

               ปลัดกระทรวงและกองย่อยอย่างกองต่อต้านการค้ามนุษย์ (Division of Anti-Trafficking in Persons:

               DATIP) ถือเป็น “หน่วยประสานงานกลาง” (focal point) ในการปฏิบัติงานต่อต้านการค้ามนุษย์ ทั้งเป็นแกน
               ในการรับถ่ายทอดนโยบายจากคณะกรรมการระดับชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ เป็นกรรมการ ปลัด

               กระทรวงฯ และข้าราชการของกระทรวงท าหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

               การค้ามนุษย์ (คณะกรรมการ ปคม.) ปลัดกระทรวงฯ เป็นกรรมการและรองปลัดกระทรวงฯ เป็นกรรมการ
               และเลขานุการ คณะกรรมการประสานและก ากับการด าเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

               (คณะกรรมการ ปกค.) อีกทั้งเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในอีกสองด้าน คือ Protection (การคุ้มครอง) และ

               Prevention (การป้องกัน) ตัวอย่างเช่น การคุ้มครองเหยื่อที่เป็นผู้หญิงและเด็กอยู่ในความรับผิดชอบของ
               ส านักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก (สปป.) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ด าเนินการร่วมกับ

               หน่วยงานอื่นๆ ทั้งกระทรวงแรงงาน หรือแม้กระทั่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ตามแต่กรณีของเหยื่อ การ

               ดูแลในสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ การให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายที่บูรณาการ
               ระหว่างหน่วยงานทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กระทรวง

               ยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข และองค์การนอกภาครัฐต่างๆ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ

               มนุษย์, 2561, น. 38, 41)
                              กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการ” ทั้งใน

               ระดับชาติที่เรียกว่า ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ (ศปคม.แห่งชาติ) และศูนย์

               ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัด (ศปคม.จังหวัด) และในต่างประเทศ ณ สถานทูตไทย
               หรือสถานกงสุล ส่วนในด้านแรงงานมีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน” (ศปกค.รง.)

               (Prevention of Human Trafficking on Labour Operation Center: PHTLOC) มีปลัดกระทรวงแรงงาน

               เป็นผู้อ านวยการ
                              เป็นที่น่าสังเกตว่ากองต่อต้านการค้ามนุษย์ (Division of Anti-Trafficking in Persons:

               DATIP) ที่เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ท าหน้าที่ดูแลเป็น

               หน่วยงานบูรณาการหลักที่ประสานงานจากระดับนโยบายจัดท าเป็นแผนและส่งงานออกไปในเกิดการปฏิบัติ




                                                           [45]
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66