Page 57 - kpiebook62002
P. 57

ส าหรับการรับมือปัญหาการค้ามนุษย์ในระดับชาติไทยได้พัฒนากลไกต่างๆ ขึ้นตามยุทธศาสตร์ 5Ps

               ประกอบด้วย Policy (นโยบาย) Prosecution (การด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) Protection (การ
               คุ้มครอง) Prevention (การป้องกัน) และ Partnership (ความร่วมมือ) ซึ่งถือเป็นกรอบการด าเนินงานตาม

               มาตรฐานสากล (ดูภาพที่ 2.2) โดยมีจุดเริ่มต้นจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ที่

               เห็นชอบ “แผนแม่บท” ระยะยาว 5 ปีให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์การระหว่างประเทศ ยึดถือ
               ในการต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเรียกว่า “นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปราม

               การค้ามนุษย์” ฉบับที่ 1 ค.ศ. 2011–2016 และตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 2017 ส าหรับ

               ฉบับที่ 2 ค.ศ. 2017–2021 (สุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ, 2560, น. 15–16) นอกจากนี้ไทยเสนอ P ที่ 6 คือ
               Pathway Ahead หรือแนวทางในอนาคต เพื่อแสดงเจตจ านงที่ไทยมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาและปูทางไปสู่การ

               ป้องกันและแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุรวมไปถึงการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไปอย่างยั่งยืน (สถาน

               เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน, โทรเลข, 1 พฤษภาคม 2557, อ้างถึงใน ศิระ สว่างศิลป์, 2557, น. 11) ซึ่ง
               เป็นไปตามแนวทางแก้ไขปัญหาความมั่นคงในปัจจุบันของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561) ส่วนการประเมินการ

               จัดอันดับในรายการค้ามนุษย์ (TIP Report) ของสหรัฐอเมริกาจะมุ่งสนใจที่ 3Ps ได้แก่ Prosecution (การ

               ด าเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย) Protection (การคุ้มครอง) และ Prevention (การป้องกัน)


                          ภาพที่ 2.2 ยุทธศาสตร์ 5Ps และข้อเสนอ P ที่ 6 ในการต่อต้านการค้ามนุษย์ของไทย


                                                     Policy (นโยบาย)

                                    Prosecution         Protection        Prevention

                                  (การด าเนินคดีและ    (การคุ้มครอง)      (การป้องกัน)
                                   บังคับใช้กฎหมาย)



                                                 Partnership (ความร่วมมือ)
                                            Pathway ahead (แนวทางในอนาคต)



                      ในภาพรวมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา วางแนวทางในการรับมือปัญหาการค้ามนุษย์เป็น 3

               ช่วงด้วยกัน ได้แก่ ช่วงระยะเวลา 4 ปีแรก (ค.ศ. 2014–2017) ช่วงระยะเวลาในอีก 4 ปีถัดมา (ค.ศ. 2017–
               2021) และกลไกรับมือปัญหาที่ถูกจัดอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 20 ปี (รัฐบาลไทย, 2560)

                       1)  ช่วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (ค.ศ. 2014–2017) ให้ความส าคัญกับการแก้ปัญหาประเด็นการค้า

               มนุษย์เป็นล าดับต้นๆ โดยรัฐบาลออกกฎหมายและมาตรการป้องกันมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ไม่ว่า
               ในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ให้มีโทษหนักขึ้น การบังคับใช้กฎหมายเข้มข้น มีทั้งต ารวจ ฝ่ายปกครอง

               กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมมือกันเพื่อด าเนินการจัดการกับ




                                                           [41]
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62