Page 52 - kpiebook62002
P. 52

รายงานการจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยชี้ให้เห็นเรื่องหนึ่งที่ส าคัญ คือ เหยื่อการค้า

               มนุษย์เป็นประเด็นส าคัญที่ไทยต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหา เหยื่อการค้ามนุษย์ในไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่าง
               ด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ความต้องการเข้ามาท างานของแรงงานเหล่านี้มาจากปัจจัย 5 ประการด้วยกัน

               ได้แก่ ความยากจน การขาดโอกาสทางการศึกษา ปัญหาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว การแบ่งแยกทาง

               เพศโดยเฉพาะผู้หญิง วัฒนธรรมและค่านิยมที่ลูกสาวมีหน้าที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัว ปัจจัยที่กล่าวมานี้ผลักดัน
               ให้แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาและกลายเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ปัญหาการค้ามนุษย์ได้

               ขยายตัวจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของไทยดังเช่นในปัจจุบันจากการเพิ่มขึ้นของเหยื่อที่เข้ามาซึ่งแบ่งตาม

               แหล่งที่มาได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่มที่มาจากประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย เช่น เมียนมา ลาว และ
               กัมพูชา (2) กลุ่มที่มาจากประเทศใกล้เคียง เช่น จีน และเวียดนาม และ (3) กลุ่มที่มาจากประเทศอื่นๆ (ศิบดี

               นพประเสริฐ, 2558, น. 8–13)

                       ถ้าพิจารณาจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ประเทศต่างๆ ที่มีพรมแดนติดกับไทย ได้แก่ เมียน
               มา ลาว กัมพูชา ยกเว้นมาเลเซียแล้ว ต่างมีปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งสิ้น ส่งผลให้

               ประชากรในประเทศเหล่านั้นต้องแสวงหาคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า โดยวิธีการหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันคือการย้ายถิ่น

               เข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีเศรษฐกิจที่ดีกว่าคือไทย สิ่งนี้เองกลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้ผู้ย้ายถิ่นหลายคนตก
               เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ภายใต้วัตถุประสงค์ต่างๆ กันไม่ว่าจะเป็นการค้าประเวณี การใช้แรงงาน และขอทาน

               การข้ามพรมแดนกระท าโดยการลักลอบเข้ามาทางชายแดน รวมทั้งการเข้ามาโดยหลักเกณฑ์ผ่อนผันตาม

               กฎหมาย แต่มิได้เดินทางกลับคืนสู่ประเทศของตนตามก าหนด อีกทั้งอาศัยการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐไทยหรือ
               การใช้เอกสารปลอมประเทศต้นทาง กลางทาง และปลายทาง (ศิบดี นพประเสริฐ, 2558, น. 13)

                       ในที่นี้จะน าเสนอสภาพปัญหาของการค้ามนุษย์ในไทยในรูปแบบที่ส าคัญ ได้แก่ (1) การค้ามนุษย์ใน

               กลุ่มแรงงานประมง (2) การค้าบริการทางเพศ และ (3) การใช้แรงงานเด็กและผู้หญิงที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์
               โดยที่การค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงถูกจับตามองจากนานาชาติมากที่สุด สหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรป

               ยังใช้ประเด็นดังกล่าวมาเป็นข้อต่อรองเรื่องการค้า เพราะต่างเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่อันดับที่ 2 และ 3

               ของไทย (พักตร์มณี เส่งถิน, ม.ป.ป.) การค้ามนุษย์ในกลุ่มแรงงานประมงจึงเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็น
               พิเศษ



                       1.  สภาพปัญหาของแรงงานประมงไทย
                          เนื่องด้วยอุตสาหกรรมประมงของไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก

               ในแต่ละปีส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงได้กว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี ยกเว้นในปี 2017 ที่ลดลงมาเหลือที่ประมาณ

               1.6 แสนล้านบาท (ระบบศูนย์ปฏิบัติการกรมประมง, 2561) จ้างงานคนไทยและต่างด้าวกว่า 1 ล้านคน แต่
               ด้วยสภาพการท างานที่ยากล าบากและมีการทารุณกรรมใช้งานเยี่ยงทาส กล่าวคือ บางวันต้องท างานติดต่อกัน

               เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จึงไม่เป็นที่สนใจของแรงงานภายในประเทศ เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงและ

               ก่อให้เกิดขบวนการค้ามนุษย์เพื่อหาแรงงานเข้ามาใช้ประโยชน์โดยปริยาย ซึ่งกรมการจัดหางาน กระทรวง




                                                           [36]
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57