Page 49 - kpiebook62002
P. 49
United States, Department of State, 2015, pp. 332–333) โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นประจวบเหมาะ
2
กับช่วงเวลาทบทวนรายงานฯ ในขณะที่มาเลเซียเปลี่ยนท่าทียอมให้ความช่วยเหลือเป็นการชั่วคราวในขณะท า
หน้าที่ประธานอาเซียนและได้รับการยกระดับจากกลุ่มที่ 3 ขึ้นมาเป็นกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับ
ตามองในรายงานการค้ามนุษย์ (TIP Report) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประจวบเหมาะกับการเตรียมลงนามเป็น
ภาคีความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) (สุภ
ลักษณ์ กาญจนขุนดี, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562) ท าให้นานาชาติขาดความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทย อีกทั้ง
แม้จะด าเนินการจับกุมในคดีค้ามนุษย์มากแต่มีหลายคดีที่อัยการไม่สามารถสั่งฟ้องหรือศาลยังไม่พิพากษา
ลงโทษ
ปัญหาที่ส าคัญ คือ แรงงานในอุตสาหกรรมการค้าประมงและการค้าประเวณี อีกทั้งพบ
ปัญหาแรงงานเด็ก ขอทาน และแรงงานรับใช้ในบ้านด้วย อุปสรรคส าคัญในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ คือ
เจ้าหน้าที่รัฐของไทยอยู่ในขบวนการค้ามนุษย์เหล่านั้น ปัญหาในการจัดการการค้ามนุษย์ของไทยอีกอย่าง คือ
การคัดกรองเหยื่อที่ยังขาดความชัดเจน ในปี 2014 พบตัวเลขแรงงานอพยพประมาณ 2–3 ล้านคนในประเทศ
ไทย (สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย, 2557) และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3–4 ล้านคน ในปี 2015
(สถานทูตสหรัฐและสถานกงสุลในประเทศไทย, 2558) การขาดความเชื่อมั่นที่ถือเป็นปัจจัยส าคัญนี้ยังเป็นผล
จากความไม่ไว้ใจของกลุ่มองค์การนอกภาครัฐต่อการท างานกับรัฐบาล ก่อให้เกิดข่าวในทางลบต่อภาพลักษณ์
ของประเทศไทยและถูกพูดถึงต่อมาอีก 3–4 ปี (ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ, สัมภาษณ์, 22 มีนาคม 2562)
ช่วงที่ 3 มุ่งแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจังและหน่วยงานต่างๆ เริ่มมีการท างานเป็นระบบ
มากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2015–2018 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการค้ามนุษย์กลายเป็น
ปัญหาระดับภูมิภาคและไทยตกไปอยู่ในกลุ่มที่ 3 รัฐบาลไทยประกาศใช้นโยบายต่อต้านการค้ามนุษย์เป็นวาระ
แห่งชาติอีกครั้งในวันที่ 3 เมษายน 2015 (กระทรวงการต่างประเทศ, 2558ก) การขับเคลื่อนนโยบายทั้งใน
ระดับชาติและในอาเซียนอย่างจริงจัง และการรวบรวมข้อมูลชี้แจ้งอย่างเป็นระบบดังปรากฏในรายงานของ
3
ฝ่ายไทยโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2014 รัฐบาลได้จัดท ากรอบแนวคิดและปรับระบบการท างานจากเดิมที่การ
2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงก่อนส่งรายงานการค้ามนุษย์ประจ าปีในเดือนมิถุนายน และในช่วงเดือนมิถุนายนถึงวันที่ 30 กันยายนของทุกปี ที่
รัฐบาลต้องให้ข้อมูลกับกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาหากมีการร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับการสืบสวน การด าเนินคดี การพิพากษาว่ากระท า
ความผิด และการพิพากษาลงโทษ เพื่อแสดงถึงความสุจริตใจ [ดู Indicia of “Serious and Sustained Efforts” ข้อ (1) ใน United States,
Department of State, 2018, p. 4] ในบทสัมภาษณ์พลต ารวจเอกธรรมศักดิ์ วิชชารยะ ที่ในขณะนั้นเป็นที่ปรึกษา (สบ 10) และผู้อ านวยศูนย์
พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ (สตช.) เห็นว่า เป็นเป้าหมายระยะเร่งด่วนที่สุดที่ต้อง
ด าเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้เห็นผลภายใน 31 ธันวาคม จนถึง 31 มีนาคมของอีกปี ตามวงรอบการประเมินผลจัดอันดับในรายงาน
การค้ามนุษย์ประจ าปีของทางการสหรัฐอเมริกา (“จับเข่าคุย ‘มือปราบการค้ามนุษย์’,” 2561)
3 จากการสืบค้นเว็บไซต์ Thai Anti-Human Trafficking Action ของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน พบว่ารายงานการค้ามนุษย์ของ
ไทยฉบับภาษาอังกฤษในช่วงต้นในปี 2009 และ 2012 จัดท าโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยฉบับแรกมีชื่อว่า
“Situation, Prevention and Suppression of Trafficking in Persons: 2009 Report” เป็นเวลา 1 ปีหลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) มีจ านวน 16 หน้า ฉบับถัดมามีชื่อว่า “2012 Thailand Situation and Progress
Report on Prevention and Suppression of Trafficking In Persons มีจ านวนเพิ่มขึ้นเป็น 26 หน้า ส่วน “Thailand’s Annual Report on
Efforts and Progress on the Implementation of Anti-Human Trafficking Action Plan in 2012” ที่จัดท าขึ้นเพื่อส่งให้กระทรวงการ
[33]