Page 46 - kpiebook62002
P. 46
ร่างกาย ซึ่งประเทศไทยได้น าองค์ประกอบเหล่านี้มาก าหนคดวามิดฐานค้ามนุษย์ใน ปรับเป็นพระราชบัญญัติ
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (สุนีย์ ศรีสง่าตระกูลเลิศ, 2560, น. 8–11)
ประเทศไทยลงนาม UN TIP Protocol เมื่อ ค.ศ. 2002 โดยมีสาเหตุจากการที่สหรัฐอเมริกาจัดท า
รายงานการค้ามนุษย์ (TIP Report) ขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 2001 การจัดอันดับในรายงานดังกล่าวจะส่งผลต่อความ
ช่วยเหลือจากองค์การระหว่างประเทศ ประเทศต่างๆ รวมทั้งไทยจึงหันมาให้ความสนใจประเด็นการแก้ไข
ปัญหาการค้ามนุษย์ (ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ส านักวิชาการ, 2558) ต่อมาใน ค.ศ. 2004
ปัญหาดังกล่าวถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในเวทีการประชุมหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับภูมิภาคหรือเวที
ระหว่างประเทศ เช่น การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือของประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขง
เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ (Memorandum of Understanding on Cooperation against Trafficking in
Persons in the Greater Mekong Sub-region) ที่ประกอบด้วยไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และ
จีน การประชุมของภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่กระท าโดยองค์กร
อาชญากรรมครั้งแรกในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคมของปีดังกล่าว การแต่งตั้งต าแหน่งผู้
เสนอรายงานพิเศษด้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (Special Rapporteur on Human Trafficking
in Persons, Especially Women and Children) โ ด ยส านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติ (Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights: OHCHR) หลาย
ประเทศทั่วโลกต่างเร่งหามาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อต่อสู้และปราบปรามกิจกรรมการค้า
มนุษย์และช่วยเหลือเหยื่อให้พ้นจากวงจรเหล่านี้
ในส่วนประเทศไทยก็ตื่นตัวกับภัยคุกคามจากการค้ามนุษย์เช่นกัน เห็นได้จากการที่หลายกลุ่มองค์กร
ทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง จนรัฐบาลทักษิณ
ชินวัตรที่ในขณะนั้นประกาศสงครามกับยาเสพติดแล้ว ได้ประกาศให้การป้องกันและแก้ไขปัญหา “การค้า
มนุษย์” เป็นวาระแห่งชาติเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 2004 โดยมุ่งหวังขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไป
(กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
แห่งชาติ, 2553, น. 1)
อีกสาเหตุหนึ่งที่ประเทศไทยให้ความส าคัญกับการค้ามนุษย์ เป็นเพราะความพยายามผลักดันของ
องค์การนอกภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งกระแสกดดันจากนานาประเทศที่อ้างว่า ประเทศ
ไทยเป็นแหล่งแสวงหาประโยชน์มิชอบจากการค้าเด็กและผู้หญิงโดยเป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน
และประเทศปลายทาง ที่สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นประเทศหลักที่ผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
อย่างจริงจังทั่วโลก ประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์และความรุนแรง (Victims of
Trafficking and Violence Protection Act: TVPA) ค.ศ. 2000 โดยประเมินจากขอบเขตความพยายามของ
รัฐบาลที่ท าตามมาตรฐานขั้นต่ าในการขจัดการค้ามนุษย์ โดยจัดเป็นทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้ (กระทรวงแรงงาน,
ม.ป.ป.; United States, Department of State, 2018)
กลุ่มที่ 1 (Tier 1): ประเทศซึ่งรัฐบาลปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ าของกฎหมาย TVPA โดยสมบูรณ์
[30]