Page 41 - kpiebook62002
P. 41
หากพิจารณาจากสัดส่วนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าของไทยปี 2019 (ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน) ก็พบว่า
ก๊าซธรรมชาติเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ โดยผลิตก าลังไฟฟ้าไปแล้ว 40,400 กิกะ
วัตต์-ชั่วโมง (GWh) หรือร้อยละ 58 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด ตามมาด้วยถ่านหินน าเข้า/ลิกไนต์ ที่ผลิตไฟฟ้าไป
แล้ว 11,900 GWh หรือร้อยละ 17 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด อันดับต่อมาคือ การน าเข้าไฟฟ้าจากประเทศเพื่อน
บ้านร้อยละ 11 โดย สปป. ลาว เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าส าคัญของไทย อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการใช้พลังงาน
หมุนเวียนก็มีสัดส่วนไม่น้อยคือ ร้อยละ 10 ของเชื้อเพลิงทั้งหมด ซึ่งผลิตไฟฟ้าให้ไทยไปแล้ว 7,000 GWh
(กระทรวงพลังงาน, 2562a)
แนวทางการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของไทย สามารถดูได้จากแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีพลเอก
ประยุทธ์ด้านความมั่นคงทางพลังงาน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานเพื่อประโยชน์
ทั้งด้านการสร้างความมั่นคงและการยกระดับเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของภูมิภาคโดยอาศัยความได้เปรียบ
จากภูมิศาสตร์ของประเทศ และ 2) กระจายการน าเข้าจากแหล่งพลังงานต่างๆ และประเภทพลังงานให้มีความ
สมดุล โดยเน้นการส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้นในภาคขนส่ง การใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาค
ครัวเรือน รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้ทดแทนการใช้พลังงาน
จากฟอสซิลให้ได้ร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี ตลอดจนลดระดับการใช้พลังงานต่อผลผลิตให้ได้ร้อยละ 25 ภายใน
20 ปี (สภาผู้แทนราษฎร, 2557) ซึ่งจะด าเนินการควบคู่กับการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์และการพัฒนาอาคารสถานที่
ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน และร่วมมือกับต่างประเทศในการส ารองพลังงานเชิง
ยุทธศาสตร์ทั้งในฐานะชาติสมาชิกอาเซียนและทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA)
ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเผชิญกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ในหลายรูปแบบ
เช่น ปัญหายาเสพติด การทุจริตคอร์รัปชัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งผลกระทบของ
ปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ไม่ได้เกิดเฉพาะแก่รัฐเท่านั้น แต่ยังมีผลเป็นวงกว้างตั้งแต่ระดับโลกจนถึงสถาบัน
ครอบครัว ตัวอย่างเช่น ปัญหายาเสพติดที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาครอบครัว การทุจริตกับปัญหาคุณภาพของ
โครงสร้างพื้นฐานและความเท่าเทียมในสังคม และภัยพิบัติทางธรรมชาติกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ส าคัญ
ไทยเป็นประเทศที่เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทางของภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่จะต้องอาศัย
นโยบายและมาตรการรับมืออย่างมีประสิทธิภาพและรอบด้าน
นอกจากนี้ ยังพบว่า ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่มีความสัมพันธ์อย่างซับซ้อนกับการก่อ
อาชญากรรมข้ามชาติ โดยภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ในหลายรูปแบบถูกจัดให้เป็นอาชญากรรมข้าม
ชาติตามเกณฑ์ของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ประกอบ
อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติของสหประชาชาติ (UNTOC) ดังนั้น ประเทศไทยเพียงล าพัง
จึงไม่อาจแก้ไขปัญหาภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ได้เต็มความสามารถ เพราะต้องอาศัยความร่วมมือกับ
หุ้นส่วนต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผ่าน
มาไทยมีความร่วมมือด้านนี้ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยเฉพาะกับความร่วมมือในฐานะชาติสมาชิก
อาเซียนซึ่งมีพลวัตและความท้าทายส าหรับการศึกษาในงานวิจัยนี้
[25]