Page 39 - kpiebook62002
P. 39

จังหวัด รวมกว่า 39,000 หมู่บ้าน ท าให้พื้นที่เกษตรเสียหายประมาณ 5 ล้านไร่ หรือคิดเป็นมูลค่าความ

               เสียหายกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งความเสียหายเพิ่มขึ้นจากปี 2016 ที่มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 62 จังหวัด รวม

               กว่า 21,000 หมู่บ้าน มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายประมาณ 500,000 ไร่ หรือ 270 ล้านบาท


               แผนภูมิที่ 1.3 พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยตั้งแต่ปี 2008-2017






































               ที่มา: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


                       ความท้าทายหลักของการแก้ไขปัญหาอุทกภัยของไทยคือ การบูรณาการความร่วมมือทั้งระบบ โดยที่
               ผ่านมา การด าเนินการแก้ไขปัญหาน้ าท่วมจะเป็นลักษณะเชิงรับ ส่วนใหญ่จะเป็นการพร่องน้ าออกจากเขื่อน

               ในช่วงฤดูฝน ทั้งที่สามารถวางแผนการท างานอย่างเป็นระบบและบูรณาการได้แม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาปกติ

               (BBC, 2561a) เช่นเดียวกับการจัดการปัญหาน้ าท่วมในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากปัจจัยภูมิประเทศและ
               การขยายตัวของเมืองแล้ว การขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงและแผนแม่บทก็เป็นอีกปัจจัยหลักที่ท าให้

               กรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาน้ าท่วมอย่างสม่ าเสมอ ซึ่ง อุทัย เลาหวิเชียร และสุวรรณี แสงมหาชัย (2560)

               ได้เสนอว่า การจัดตั้งองค์กรเพื่อรับผิดชอบโดยตรงและการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจะช่วยให้การ
               จัดการปัญหาน้ าท่วมมีประสิทธิภาพมากขึ้น










                                                           [23]
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44