Page 36 - kpiebook62002
P. 36
ตารางที่ 1.1 ผลการจับกุมยาเสพติดปี 2016-2017
ประเภท รายละเอียด ปี 2016 ปี 2017 Y-Y (%)
จ านวนคดี 120,000 132,000 9.6
ยาบ้า
ของกลาง (ล้านเม็ด) 124 248 98.9
จ านวนคดี 18,000 15,500 -16.4
ไอซ์
ของกลาง (กก.) 2,300 6,100 163
จ านวนคดี 850 770 -9.9
เฮโรอีน
ของกลาง (กก.) 334 640 93.3
จ านวนคดี 68 58 -14
โคเคน
ของกลาง (กก.) 54 41 -24
จ านวนคดี 11,000 8,600 -23.7
กัญชาแห้ง
ของกลาง (กก.) 31,800 31,700 -0.5
จ านวนคดี 23,500 20,500 -12.8
พืชกระท่อม
ของกลาง (กก.) 89,900 94,400 4.9
จ านวนคดี 413 295 -28.5
คีตามีน
ของกลาง (กก.) 142 549 286..5
ที่มา: ส านักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
ขณะที่พื้นที่แพร่ระบาดหลักในไทยคือ ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล และยังเป็นพื้นที่พักยาเสพ
ติดเพื่อกระจายต่อไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ ทั้งนี้ในปัจจุบันพบว่า รูปแบบการค้า การล าเลียง และการ
ติดต่อจะใช้เทคโนโลยีผ่านทางโซเซียลมีเดียและสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อทั้งผู้ค้าและ
ผู้เสพ อันท าให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวทางสถานการณ์และรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ความรุนแรงของปัญหายาเสพติดกับสังคมไทยยังเห็นได้จากข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาอาการติดยาเสพ
ติดของสถาบันบ าบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีปี 2018 ซึ่งพบว่า มีผู้ป่วยจากใช้ยาบ้า
เข้ารับการรักษารวมกันประมาณ 3,300 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายร้อยละ 84 ของผู้เข้ารับการรักษาทั้งหมด โดย
ช่วงวัยที่มีผู้ติดยาบ้ามากที่สุดคือ ช่วงอายุ 20-29 ปี คิดเป็นร้อยละ 43 ตามมาด้วยช่วงอายุ 30-39 ปี หรือร้อย
ละ 36 ของผู้เข้ารับการรักษาทั้งหมด และเมื่อแบ่งเป็นรายอาชีพก็พบว่า ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างและว่างงาน
เป็นกลุ่มคนที่เสพยาบ้ามากที่สุดคือ ร้อยละ 44 และ 36 ตามล าดับ โดยผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาจะมีอัตราการ
กลับมารักษาซ้ ามากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 51 ของผู้ที่เคยเข้ารับการรักษา เช่นเดียวกับผู้เสพไอซ์ที่มีอัตรา
เป็นผู้ชายร้อยละ 77 ช่วงวัยที่ติดไอซ์มากที่สุดคือ 20-29 ปี คิดเป็นร้อยละ 46 ของผู้เข้ารับการรักษาทั้งหมด
และอาชีพรับจ้างและผู้ว่างงานเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาอยู่ในวงจรยาเสพติดเหมือนกัน
[20]