Page 37 - kpiebook62002
P. 37

สถานการณ์ปัญหายาเสพติดท าให้หลายฝ่ายให้ความส าคัญกับกับการร่วมมือกับต่างประเทศ

               โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การร่วมมือทวิภาคีไทย-เมียนมา ไทย-สปป. ลาว ไทย-จีน ที่มีชายแดนร่วม
               บริเวณสามเหลี่ยมทองค า รวมทั้งการร่วมมือกับกัมพูชาและมาเลเซียด้วย ขณะที่มาตรการภายในประเทศก็

               เน้นการด าเนินการเชิงรุกทั้งการสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดในระดับเยาวชน การเข้าถึงกลุ่ม

               เสี่ยงอย่างผู้รับจ้างในสถานประกอบการต่างๆ ตลอดจนการสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่าง
               ยั่งยืน



               1.2 ทุจริตคอร์รัปชัน


                       ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไทยโดยรวม เนื่องจากเป็นปัญหาที่ฝังราก

               ลึกในสังคมไทยมีความเกี่ยวพันกับระบบอุปถัมภ์และการใช้เส้นสายเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพวกพ้อง ซึ่ง
               จากงานศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยสูญเสียเงินจากการคอร์รัปชันมากกว่า 300,000 ล้านบาทต่อปี มี

               ผลกระทบทั้งด้านการใช้จ่ายงบประมาณมากกว่าความเป็นจริง ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานหรือบริการสาธารณะ

               ที่ด้อยคุณภาพ รวมทั้งการขาดความเชื่อมั่นต่อระบบราชการของประชาชนและนักลงทุนต่างชาติ (จารุวรรณ
               สุขุมาลพงษ์, 2556) แม้ว่าที่ผ่านมา หลายภาคส่วนจะร่วมมือกันจัดการกับปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน แต่ก็ยังไม่

               ประสบความส าเร็จดังที่คาดหวังไว้ เห็นได้จาก ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index)

               ขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ปี 2018 ซึ่งท าการส ารวจความ
               โปร่งใสในภาครัฐของ 180 ประเทศ โดยใช้เกณฑ์วัดจากความโปร่งใสผ่านมุมมองของนักธุรกิจที่เข้ามาลงทุน

               หลักนิติรัฐ และการติดสินบนหรือแทรกแซงการด าเนินธุรกิจของเจ้าหน้าที่รัฐ พบว่า 2 ใน 3 ของประเทศที่ท า

               การส ารวจมีคะแนนต่ ากว่า 50 คะแนนจากเต็ม 100 คะแนน โดยคะแนนเฉลี่ยอยู่ 43 คะแนน
                       ประเทศไทยอยู่ในล าดับที่ 99 โดยมี 36 คะแนน ซึ่งในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาคะแนนของไทยขึ้นลงอยู่

               ระหว่าง 36-39 คะแนนดังแผนภูมิด้านล่าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไทยยังไม่สามารถยกระดับการจัดการกับ

               ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน ไทยเป็นประเทศล าดับที่ 4 รองจาก
               สิงคโปร์ (3) บรูไน (31) มาเลเซีย (61) และอินโดนีเซีย (89) โดยไทยมีอันดับเดียวกับฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม

               เลขาธิการส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มองว่า ผลคะแนนของ

               ไทยเป็นผลจากปัจจัยทางการเมืองเป็นหลัก เนื่องจากในมุมมองของตะวันตกการรัฐประหารในปี 2014 ท าให้
               กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยถดถอยลง (BBC, 2561b)













                                                           [21]
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42