Page 34 - kpiebook62002
P. 34

บทที่ 1



                                        ความมั่นคงรูปแบบใหม่ของไทยในปัจจุบัน


                       ประเทศไทยเผชิญกับความมั่นคงรูปแบบใหม่ในหลายรูปแบบและจากหลายทิศทาง ซึ่งเป็นผลมาจาก

               ปัจจัยที่แตกต่างกันทั้งการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์ หรือความก้าวหน้าของ

               เทคโนโลยี อีกทั้งไทยในฐานะประเทศที่เป็นทั้งต้นทาง ทางผ่าน ปลายทางของภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบ
               ใหม่ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจึงเป็นสิ่งจ าเป็นอย่างยิ่งยวด โดยในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

               ได้กล่าวถึงแนวโน้มของไทยที่จะเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของ

               สภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติและความมั่นคงทางอาหาร ขณะเดียวกันความก้าวหน้าของ
               เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็ท าให้ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ยกระดับสู่การสร้างความเสียหายหรือ

               อาชญากรรมผ่านโลกไซเบอร์มากขึ้น กลายเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและกระทบต่อทุกภาคส่วนในองคาพยพของ

               สังคม อันต้องอาศัยการร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อสร้างความมั่นคงแบบองค์รวม
                       เมื่อเปรียบเทียบระหว่างลักษณะเฉพาะของภัยคุกคามรูปแบบใหม่กับนิยามของอาชญากรรมข้ามชาติ

               จะพบว่า ทั้งสองประเด็นมีความเกี่ยวพันอย่างซับซ้อน ดังที่ Amitav Acharya (2018) ได้กล่าวถึงลักษณะเด่น

               ของภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ ได้แก่ การเป็นภัยคุกคามที่ไม่ได้มาจากอ านาจทางทหาร มักเกิดขึ้นแบบ
               ไม่ทันตั้ง เป็นภัยคุกคามในลักษณะข้ามชาติ มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์และการ

               ปฏิวัติด้านการสื่อสารโทรคมนาคม การแก้ไขปัญหาโดยล าพังจึงไม่เพียงพอต่อการรับมือกับภัยคุกคามความ

               มั่นคงรูปแบบใหม่ จ าเป็นต้องอาศัยความร่วมมือแบบพหุภาคีและระดับภูมิภาค ดังนั้นเป้าหมายของการสร้าง
               ความมั่งคง/ปลอดภัยไม่ใช่แค่รัฐอีกต่อไป แต่รวมถึงประชาชนด้วย

                       สอดคล้องอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติของสหประชาชาติ (United Nations

               Convention against Transnational Organized Crime: UNTOC) ที่ระบุลักษณะของอาชญากรรมข้าม
               ชาติ 4 ประการ คือ 1) มีการกระท าความผิดในมากกว่าหนึ่งรัฐ 2) การกระท าความผิดในรัฐหนึ่ง แต่การ

               เตรียมการ วางแผน สั่งการหรือควบคุมเกิดขึ้นในอีกรัฐหนึ่ง 3) การกระท าความผิดเกิดขึ้นในรัฐหนึ่ง แต่

               เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชญากรที่มีการกระท าความผิดมากกว่าหนึ่งรัฐ และ 4) ความผิดเกิดขึ้นในรัฐหนึ่ง แต่ผล
               ส าคัญของการกระท าความผิดเกิดขึ้นในอีกรัฐหนึ่ง ซึ่งไทยในฐานะประเทศที่ลงนามอนุสัญญาดังกล่าวก็ได้

               ด าเนินการจัดท า พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 ท า

               ให้ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่ความเกี่ยวพันอย่างซับซ้อนกับการเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งในแง่
               ที่ว่าเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมและการเข้ามาพัวพันของกลุ่มอาชญากรที่ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทาง

               เทคโนโลยีในการยกระดับเป็นอาชญากรรมข้ามชาติบนโลกออนไลน์ เช่น การค้ามนุษย์ การค้าแรงงาน การ

               หลอกลวง การฟอกเงิน






                                                           [18]
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39