Page 30 - kpiebook62002
P. 30

ได้ศึกษาพฤติกรรมการรังแกของเยาวชนในโลกไซเบอร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการด าเนินชีวิตของเยาวชนในสังคม

               รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของระบบธนาคารออนไลน์ เช่นงานของนิภาพร แสงทวี และ
               สมนึก พ่วงพรพิทักษ์ (2560) ที่ได้ท าการศึกษาระบบธนาคารออนไลน์ผ่านมือถือ (m-banking) เพื่อเสนอ

               แนวทางส าหรับปิดจุดอ่อนของระบบที่มีความเสี่ยง อีกทั้งจากการส ารวจงานวรรณกรรมของไทยเป็นที่น่า

               สังเกตว่า มีงานวรรณกรรมจ านวนมากที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ผ่านโลกออนไลน์ทั้งด้านการค้าและ
               การศึกษา ซึ่งแสดงถึงการใช้ประโยชน์และความส าคัญของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในชีวิตประจ าวันของคนไทยใน

               ปัจจุบัน ท าให้การสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นความจ าเป็นที่ต้องได้รับการส่งเสริมควบคู่กันไป

                       การทบทวนวรรณกรรมท าให้พบว่า ไทยมีความตระหนักถึงความส าคัญของการสร้างความพร้อมเพื่อ
               รับมือภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ เห็นได้จาก การก าหนดให้การสร้างความมั่นคงรูปแบบใหม่เป็นส่วน

               หนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งความมั่นคงรูปแบบใหม่ใน

               หลายประเด็นได้รับการจัดล าดับความส าคัญในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ในส่วนของงานวิชาการที่
               เกี่ยวข้องกับความมั่นคงรูปแบบใหม่ พบว่า มีการศึกษาในประเด็นที่หลากหลาย เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ

               การก่อการร้าย เป็นต้น โดยมีการศึกษาทั้งในด้านการด าเนินมาตรการของไทยและความร่วมมือระหว่าง

               ประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้านและกลุ่มความร่วมมืออาเซียน ซึ่งเห็นตรงกันว่าเป็นพื้นที่ส าคัญล าดับ
               แรกที่ไทยจ าเป็นต้องกระชับความร่วมมือเพื่อให้การจัดการกับปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่มีความยั่งยืน

                       ในส่วนของการทบทวนวรรณกรรมในประเด็นศึกษาหลักของรายงานวิจัยนี้ก็พบว่า มีทิศทางการศึกษา

               ที่คล้ายคลึงกัน คือ ศึกษาทั้งกระบวนการภายในประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับ
               อาเซียน รวมถึงมีความคาบเกี่ยวกับการเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การศึกษาความมั่นคง

               รูปแบบใหม่ไม่อาจก าหนดขอบเขตการวิจัยได้เพียงภายในประเทศเท่านั้น ดังนั้น การศึกษาความมั่นคงรูปแบบ

               ใหม่ของไทยในระยะเริ่มต้นจ าเป็นต้องศึกษาความร่วมมือในระดับอาเซียนควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งจากงาน
               วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในระดับอาเซียนก็มีข้อสรุปในท านองที่ว่า อาเซียนมีความพร้อมด้าน

               กลไกความร่วมมือ ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ระหว่างชาติสมาชิกในการจัดการกับปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่

               แต่ความท้าทายมาจากการบังคับใช้หรือการด าเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากอาเซียนเป็นองค์การความ
               ร่วมมือที่อยู่บนหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในและความร่วมมือโดยสมัครใจ

                       อย่างไรก็ดี แม้ว่า รายงานวิจัยนี้จะใช้แนวทางการศึกษาเช่นเดียวกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่

               คือ ศึกษาทั้งกระบวนการภายในประเทศและความร่วมมือในระดับอาเซียน แต่ผู้วิจัยก็ได้เล็งเห็นถึงช่องทางใน
               การเสริมสร้างองค์ความรู้ในประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ของไทยและอาเซียน ด้วยการศึกษาประสบการณ์

               และบทเรียนจากประเทศ/องค์กรที่ประสบความส าเร็จในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความมั่นคง

               รูปแบบใหม่ เพื่อน ามาประกอบเป็นการเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป










                                                           [14]
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35