Page 28 - kpiebook62002
P. 28
เกี่ยวข้อง (Bali Process) ช่องว่างและความท้าทายของระบอบกฎเกณฑ์ดังกล่าวที่มุ่งเน้นการก าหนดให้เป็น
ความผิดอาญา (criminalization) และการด าเนินคดี บทบาทของตัวแสดงที่มิใช่รัฐในฐานะตัวแสดงด้านความ
มั่นคงในการจัดการความท้าทายด้านการย้ายถิ่นซึ่งรวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับตัวแสดงภาคเอกชนและการเป็น
หุ้นส่วนกับสื่อมวลชน การส่งเสริมปทัสถานการคุ้มครองในกรณีผู้ลี้ภัยโรฮิงญา ตลอดจนประเด็นการย้ายถิ่นที่
เกิดขึ้นใหม่อื่นๆ
Caballero-Anthony เสนอไว้เกี่ยวกับระบบการอภิบาลการย้ายถิ่นว่า ต้องตรวจสอบระบอบ
กฎเกณฑ์และปทัสถานการย้ายถิ่นในปัจจุบันใหม่เพื่อพัฒนาแนวทางที่สมดุลและเป็นมนุษย์มากขึ้นโดยค านึงถึง
ความจ าเป็นเฉพาะและความไม่มั่นคงที่ผู้คนเผชิญเมื่อเคลื่อนย้ายในปัจจุบัน โดยที่รัฐควรมีบทบาทในความ
พยายามจัดการเรื่องนี้โดยการเข้ามาเกี่ยวข้องของตัวแสดงต่างๆ จากหลากหลายระดับ เช่น ชุมชนท้องถิ่น
องค์การภาคประชาสังคม ภาคเอกชน องค์การภูมิภาค หน่วยงานระหว่างประเทศ เป็นเรื่องส าคัญยิ่ง โดยให้มุ่ง
ค านึงถึงความรับผิดชอบร่วมกันแม้ตัวแสดงเหล่านี้จะมีผลประโยชน์ที่แข่งขันขัดแย้งกันก็ตาม
ประเด็นความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
อรรคเดช ประทีปอุษานนท์ และธาราทิพย์ กัลยาณมิตร (2560) ได้ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันไทยมีความ
ตระหนักถึงภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับหนึ่ง เนื่องจากยังไม่เคยประสบภัยคุกคามด้าน
ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แบบรุนแรงเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ขณะที่ในระดับอาเซียนก็มีการสร้างความ
ร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อปกป้องและเตรียมรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เห็น
ได้จากในปี 2015 ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศเห็นชอบกับแผนแม่บท
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN ICT Master Plan 2020) ทั้งนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอที่เน้นการ
ยกระดับขีดความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย อาทิ การสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วน
นอกภูมิภาค การมีนโยบายการรักษาความปลอดภัยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ การส่งเสริมพัฒนา
software/hardware ด้วยตนเองเพื่อลดการพึ่งพาจากต่างประเทศอันเป็นการปิดช่องทางของการก่อ
อาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
Nicholas Thomas (2009) ศึกษาพัฒนาการของการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซ
เบอร์ในเอเชียตะวันออก โดยพบว่า ทางเลือกที่ดีที่สุดในการรับมือกับภัยคุกความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์คือ
การสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความได้เปรียบจากการมีกลไก
ความร่วมมือทั้งอาเซียน อาเซียน+3 และ APEC เพียงแต่แต่ละรัฐควรผ่อนคลายกฎเหล็กที่ว่าด้วยการเคารพ
อ านาจอธิปไตยและการไม่แทรกแซงกิจการภายใน เพื่อบรรลุเป้าหมายของการรับมือภัยคุกคามความมั่นคง
ปลอดภัยไซเบอร์ที่เป็นปัญหาข้ามชาติ ซึ่งทุกประเทศได้รับผลกระทบและไม่สามารถจัดการได้เพียงล าพัง โดย
ผู้เขียนเสนอว่า ควรมีโครงการความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีความข้องเกี่ยวกันระหว่าง
นโยบายภายในกับความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวคือ รัฐสามารถพัฒนานโยบาย/กลไกในการรับมือกับภัย
[12]