Page 23 - kpiebook62002
P. 23

เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความสามารถในการรับมือภัยคุกคามเหล่านี้ผ่านข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้

               จากโครงการวิจัยนี้


               ทบทวนวรรณกรรม


                       การทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยนี้จะแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่ ไทย

               กับการค้ามนุษย์และการย้ายถิ่นแบบไม่ปกติ และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์


               ไทยกับความมั่นคงรูปแบบใหม่

                       ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2561 แบ่ง

               ประเด็นยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคง การสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขันของ
               ประเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างความเสมอภาคและความเท่าเทียม การเติบโตอย่างยั่งยืน และ

               ประสิทธิภาพด้านการบริหารและการจัดการของภาครัฐ เพื่อสร้างประเทศไทยที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

               เป็นประเทศพัฒนาแล้วภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยคุกคาม
               ความมั่นคงรูปแบบใหม่เป็นส่วนส าคัญของการด าเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง โดยถือเป็นการ

               สร้าง “ความมั่นคงแบบองค์รวม” เนื่องจากมองว่า การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลกปัจจุบันท าให้

               ภาคส่วนและมิติด้านต่างๆ มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ภัยคุกคามทั้งจากรูปแบบเดิมและแบบใหม่ย่อมส่งผล
               กระทบต่อทุกองคาพยพทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีจึงให้ความส าคัญกับ

               การส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการรับมือและการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่

               เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติในทุกมิติ ตลอดจนประสานความร่วมมือกับอาเซียนและหุ้นส่วนต่างประเทศ
               (ราชกิจจานุเบกษา, 2561)

                       แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ

               กับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่เป็นส่วนส าคัญของยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการ
               พัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน โดยเน้นการยกระดับอย่างรอบด้านทั้งการพัฒนานโยบายและกลไก

               ภายในประเทศและการกระชับความสัมพันธ์กับต่างประเทศควบคู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ โดย

               จะมีการพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาความมั่นคงของประเทศ อาทิ การพัฒนาบุคคลากร การเสริมสร้าง
               ความพร้อมด้านงานข่าว และการพัฒนาความร่วมมือเชิงบูรณาการ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงแผนงานและโครงการ

               ส าคัญจะพบว่า ภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่ที่มีความส าคัญเป็นล าดับแรกคือ การก่อการร้ายและ

               อาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์และยาเสพติด โรคระบาด และความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่ง
               หน่วยงานที่รับผิดชอบจะจัดท าแผนปฏิบัติภายใต้แนวทางของแผนพัฒนาฉบับนี้ (ส านักงานคณะกรรมการ

               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559)







                                                           [7]
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28