Page 26 - kpiebook62002
P. 26

การต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจัดท ารายงานประจ าสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons

               Report) ตามกฎหมายดังกล่าวเปรียบเทียบสถานการณ์ทั่วโลกกับมาตรฐานของสหรัฐฯ ออกเป็น 4 ระดับ
               ตั้งแต่ระดับที่ 1 ซึ่งด าเนินการสอดคล้องมาตรฐานขั้นต่ า ลงมาเป็นระดับที่ 2 Watch List จนถึงระดับที่ 3 ซึ่ง

               ด าเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ า

                       ในขณะที่การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย กิตติ์ธนทัต เลอวงศ์รัตน์ สรุปว่ามีแนวทาง
               ประกอบด้วย การน านโยบายและแผนระดับชาติไปสู่การด าเนินการในทุกระดับ การพัฒนาศักยภาพของ

               บุคลากรและการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และประชาชนในเรื่องความรู้ความเข้าใจ การสร้าง

               ความร่วมมือและสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนและในทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ไปจนถึง
               ระดับระหว่างประเทศ ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และขั้นตอนปฏิบัติ ตลอดจนการใช้มาตรการทางสังคม

               เพื่อเสริมสร้างส่งเสริมค่านิยมที่ดี

                       ในเรื่องการย้ายถิ่นฐานในบริบทโลก ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี (ก าลังจัดพิมพ์) อธิบายในเชิงนโยบาย
               สาธารณะโดยเริ่มต้นจากการพิจารณาแนวคิดทฤษฎีและที่มาของนโยบายดังกล่าว จากนั้นกล่าวถึงปัจจัยและ

               ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง ในส่วนท้ายกล่าวถึงแนวโน้มและทิศทาง โดยชี้ให้เห็นว่าการอพยพย้ายถิ่นฐานไม่ใช่

               ปรากฏใหม่แต่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งอธิบายได้ด้วยทฤษฎีใน 3 กลุ่ม ได้แก่ ทฤษฎีนีโอคลาสสิคที่มอง
               ว่าเป็นการค านวณอรรถประโยชน์ของมนุษย์ ทฤษฎีโครงสร้างนิยมและระบบโลกที่ถือว่าการย้ายถิ่นฐาน

               สะท้อนการขยายตัวของระบบทุนนิยมโลก และทฤษฎีระบบการอพยพที่ให้ความส าคัญกับพลวัตและความ

               ซับซ้อนของปัจจัยทางสังคมของปรากฏการณ์แรงงานข้ามชาติ ปัจจัยและผลกระทบที่เกี่ยวข้องมาจากตัวแสดง
               ทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งมีความสลับซับซ้อนส่งผลให้นโยบายการย้ายถิ่นฐานมีได้ 3 แนวทาง ได้แก่ เปิด

               เสรี กีดกัน และมุ่งใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศต้นทาง-ปลายทางและตัวผู้อพยพ ส่งผลกระทบทั้งใน

               ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการคลัง การให้บริการสาธารณะ ตลอดจนต่อความมั่นคงภายในและระหว่าง
               ประเทศ แนวโน้มและทิศทางของการย้ายถิ่นฐานมีทั้งการลี้ภัยจากวิกฤตทางการเมืองดังเช่นที่เกิดขึ้นในยุโรป

               และปัญหาแรงงานเสี่ยงที่แบกรับความเสี่ยงแทนผู้ประกอบการ ซึ่งถ้ามีมากก็ย่อมท าให้ประเทศนั้นเสี่ยงต่อ

               มาตรการกีดกันทางการค้า และสังคมผู้สูงอายุซึ่งน าไปสู่ภาวะการขาดแคลนแรงงาน
                       ทรงชัย ทองปาน (2561) กล่าวถึง “การย้ายถิ่น” ในหนังสือ “แนวคิดทางภูมิศาสตร์ประชากร:

               กรณีศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็น 3 บท บทแรกกล่าวถึงความหมายของการย้ายถิ่นและค า

               อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประเภทของการย้ายถิ่น และค าอธิบายว่าด้วยการย้ายถิ่นตามแนวทางทฤษฎีต่างๆ บทถัดมา
               กล่าวถึงการย้ายถิ่นภายในประเทศ บทสุดท้ายให้ความสนใจกับการย้ายถิ่นระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชีย

               ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มต้นจากความหมาย ประเภท ตัวชี้วัด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่น และการย้ายถิ่น

               ระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งที่น่าสนใจในบทแรกนั้น คือ การจัดแบ่งประเภทของ
               การย้ายถิ่นตามลักษณะและวัตถุประสงค์ เช่น การย้ายถิ่นโดยสมัครใจ (voluntary migration) การย้ายถิ่น

               แบบจ ายอม (impelled migration) การย้ายถิ่นแบบไม่เต็มใจหรือถูกบังคับ (forced migration) นอกจากนี้







                                                           [10]
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31